ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์
โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสายสมร มะโระ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดคงคาสวัสดิ์
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์ โดยใช้
กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์ โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์ โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์ โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์ โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยกำหนดหน่วยเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์ มีจำนวน 6 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขนมลา เล่มที่ 2 ขนมลาพื้นบ้านเมืองปากพนัง เล่มที่ 3 การทำขนมลาดอกหลากสี เล่มที่ 4 การทำขนมลาดอกหน้าธัญพืช เล่มที่ 5 การทำขนมลาแท่งสาดสี เล่มที่ 6 การทำขนมลาแท่งไก่หยองน้ำพริกเผา ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 5 คน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 มีความเหมาะสมมากที่สุด และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองรายบุคคล (Individual Tryout) แบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวน 3 คน ได้ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 67.78/66.67 ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องให้สมบูรณ์นำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) จำนวน 9 คน ได้ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 76.85/76.67 ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องให้สมบูรณ์ นำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองภาคสนาม (Individual Try Out ) จำนวน 30 คนได้ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.47/82.11 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์ โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวน 18 แผน ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาด้านกระบวนการ 5 คน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองภาคสนาม (Individual TryOut ) จำนวน 30 คน ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์การเรียนจำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.35-0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.34-0.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = 0.8316 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์ โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อนำผลมาวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ พบว่า แบบวัดความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบัค เท่ากับ 0.8896 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เปรียบเทียบ ได้แก่ t - test แบบ Independent
ผลการวิจัย พบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์ โดยใช้กระบวนการ
กลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการพัฒนามีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.61/85.15
2. นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์
โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์
โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7006 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.7006 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.06
4. นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การทำขนมลาพื้นบ้านประยุกต์
โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50)