ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคSTAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา นางประไพ อนุรักษ์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดคงคาสวัสดิ์ สังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนา
หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคSTAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อ ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลวัดคงคาสวัสดิ์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) แบบประเมินความสามารถด้านการอ่าน โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (Dependent samples Ttest) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผู้ศึกษาได้สรุปผล อภิปรายผล และมีข้อเสนอแนะตามลำดับดังนี้
ผลการศึกษาพบว่า
ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่ามีปัญหาในด้านการเรียนการสอนภาษาไทยในทักษะการ และนักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัว มาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ครูผู้สอนต้องการให้ใช้กระบวนการในการพัฒนาการอ่านมาใช้
ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีสาระประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ คือ วันลอยกระทง สวนหลังบ้าน ครอบครัวแสนสุข ตลาดนัดชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว ครอบครัวลุงนบ วันน้ำท่วม อาชีพในชุมชน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.96/81.17 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้
ผลการทดลองใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.96/84.38 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถี
ชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้
โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมิน คิดเป็นร้อยละ 89.92 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ประเมินทักษะการอ่าน อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชนคงคาสวัสดิ์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามมาตราตัวสะกด ร่วมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในรวม ระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.=0.50)