ผู้วิจัย นางศศิธร ธุระสุข
สถานที่ทำงาน โรงเรียนสีคิ้ว "สวัสดิ์ผดุงวิทยา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถใน
การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อออกแบบและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ (4.1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (4.2)เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (4.3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 46 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 5) แบบสอบถามความคิดเห็น
ของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%) และการทดสอบค่าที (dependent t test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการ
เรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีปัญหาในการทำโจทย์ประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าปัญหาของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข จึงได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ขึ้นมาใช้แก้ปัญหาของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์นั้นสอดคล้องกับเนื้อหาและหลักสูตรของสถานศึกษา และผลการประเมินคุณภาพของแบบวิเคราะห์เอกสาร วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพและข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 3 รหัสวิชา ค32113
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้ค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า
TFROLPE Model ผลจากการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 8 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระความรู้ หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน ระบบสังคม และส่งเสริมการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นนำ
เข้าสู่บทเรียน (Take the lesson : T) 2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา (Facing the problem : F) 3) ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย (Reflection activities at sub-level : R) 4) ขั้นเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อทั้งชั้น (Offer a solution to the whole floor : O) 5) ขั้นสรุปบทเรียน (Lesson Summary : L) 6) ขั้นฝึกทักษะและนำไปใช้ (Practice and apply : P) และ 7) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (TFROLPE Model) ที่พัฒนาขึ้นมามีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.87/84.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทีเอฟอาร์โอแอลพีอี (TFROLPE Model)
พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
4. ผลการประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิด
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
4.1 หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น นักเรียนมีทักษะ
การแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น นักเรียนมี
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 ความเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
ที่สุด