ชื่อเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน
ในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2
ผู้วิจัย นายสยาม เรืองสุกใสย์
ปี พ.ศ. 2559
คำสำคัญ การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน
ในถิ่นทุรกันดาร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 2. เพื่อพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 3. เพื่อใช้กลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 4. เพื่อประเมินกลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 โดยใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) กับกลุ่มเป้าหมาย 15 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริ ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 2.1 การศึกษาแนวทางและปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริ ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และศึกษาโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี 2 โรงเรียน ขั้นที่ 2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริ ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 โดยใช้ แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ ( Workshop ) กับกลุ่มเป้าหมาย 15 คน ขั้นที่ 2.3 การจัดทำร่าง กลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร(กพด.)ตามพระราชดำริ ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 โดยใช้แบบบันทึกการยกร่างกลยุทธ์จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) กับกลุ่มเป้าหมาย 8 คน ขั้นที่ 2.4 การตรวจสอบร่างกลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 โดยใช้การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) โดยใช้แบบบันทึกการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) และแบบตรวจสอบด้านความสอดคล้อง ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ กับกลุ่มเป้าหมาย 9 คน ขั้นตอนที่ 3 ผลการใช้กลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 โดยใช้แบบรายงานผลการใช้กลยุทธ์ กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคณะครู และนักเรียนที่รับผิดชอบกิจกรรมโครงการที่ระบุไว้ในกลยุทธ์การดำเนินงาน และขั้นตอนที่ 4 การประเมิน กลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจและความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ การดำเนินงานกับกลุ่มเป้าหมาย 303 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ ปัญหาและปัจจัยการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการ สนทนากลุ่มของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 สังเคราะห์ข้อมูลและสรุปได้ดังนี้ ด้านสภาพการดำเนินงานโรงเรียน พบว่า มีการกำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน นำแผนปฏิบัติการประจำปีไปใช้ในการดำเนินงาน มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงาน นำผลการประเมินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานในโรงเรียน โดยนำผลการประเมินไปปรับปรุงและแก้ไขการดำเนินงานสำหรับปีถัดไป ด้านปัญหาการดำเนินงานโรงเรียน พบว่า บุคลากรบางส่วนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาพแวดล้อมภายในและภายนอกเพื่อวางแผนการดำเนินงานน้อย การจัดบรรยากาศสภาพและแวดล้อมภายในโรงเรียนไม่เอื้อต่อการดำเนินงาน ขาดการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปผลการตรวจสอบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในโรงเรียน ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้เกี่ยวข้องไม่เห็นความสำคัญของการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาการดำเนินงานในโรงเรียน ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียน พบว่า ผลการศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยแยกเป็นประเด็นดังนี้ จุดแข็ง ได้แก่ ผู้บริหารมีความรู้ ความสามารถ มีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน มีการบริหารงบประมาณมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียนมีความชัดเจน สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจ จุดอ่อน ได้แก่ ผู้บริหารมีการติดตามและนำผลการดำเนินการ มาใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนยังไม่เป็นระบบและต่อเนื่อง อัตรากำลังครูต่ำกว่าเกณฑ์ งบประมาณมีไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการศึกษา ครุภัณฑ์หอพักมีไม่เพียงพอ และการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษายังขาดการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการวางแผนยังไม่เพียงพอ โอกาส ได้แก่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการกำหนดให้ผู้ปกครองต้องส่งบุตรหลานเข้าเรียนเมื่ออายุครบเกณฑ์ ชุมชนให้ความเป็นกันเองแก่คณะครู วัฒนธรรมชนเผ่ามีความเข้มแข็ง และองค์กรศาสนามีความเข้มแข็ง อุปสรรค ได้แก่ มีการเปลี่ยนนโยบายบ่อย การกระจายอำนาจสู่โรงเรียนยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างแท้จริง ประชากรในชุมชนมีอาชีพเกษตรกรรมมีรายได้ต่ำ มีระดับการศึกษาต่ำ และชุมชนไม่มีกระแสไฟฟ้า ไม่มีเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้
2. การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานในโรงเรียนโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2
ผลการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานในโรงเรียนโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 จากการศึกษาแนวทางปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ฯ พบว่า ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 ด้วยเทคนิค SWOT Analysis มีจุดแข็ง 13 ข้อ จุดอ่อน 8 ข้อ โอกาส 9 ข้อ และอุปสรรค 6 ข้อ ซึ่งตำแหน่งสถานภาพของโรงเรียน คือ กลยุทธ์เชิงรุก (SO) จากผลการวิเคราะห์ทำให้ได้กลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ 8 ข้อ เป้าประสงค์ 8 ข้อ และกลยุทธ์ 8 กลยุทธ์ ตัวชี้วัด 26 ตัวชี้วัด และจากผลการตรวจสอบร่างกลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 พบว่า กลยุทธ์การดำเนินงานของโรงเรียนฯ ด้านความสอดคล้อง ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
3 ผลการใช้กลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 พบว่า 1) มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิผล มิติด้านประสิทธิภาพ มิติด้านการพัฒนาองค์กร ในปีการศึกษา 2559 และ 2560 ทุกกลยุทธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
4. ผลการประเมินกลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 ด้านความพึงพอใจและความเป็นประโยชน์ พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีระดับความพึงพอใจและระดับความคิดเห็นต่อความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด