ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดข้อปฏิบัติเด็กไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านสะเดา
สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ผู้ศึกษา นางสาวอุไรวรรณ สิทธิไชย
ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านสะเดา
สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดข้อปฏิบัติเด็กไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดข้อปฏิบัติเด็กไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดข้อปฏิบัติเด็กไทย กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มตัวอย่าง (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดข้อปฏิบัติเด็กไทย จำนวน 10 เรื่อง แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน และแบบประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดข้อปฏิบัติเด็กไทย กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent Group และค่าประสิทธิภาพ ( / )
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดข้อปฏิบัติเด็กไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.54/81.86 เป็นไปตามเกณฑ์ (80/80) ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้หนังสือ อ่านเพิ่มเติม ชุดข้อปฏิบัติเด็กไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดข้อปฏิบัติเด็กไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก