บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
เรื่อง การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นางสาวกุลนิษฐ์ วงศ์แก้ว
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีการวิจัย 2562
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐารามจำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เทคโนโลยีสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ตรวจสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependents Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (E1/E2) เท่ากับ 83.44/84.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด