ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการ
กับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง)
ผู้วิจัย จรัสศรี นิลเขียว
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและ การเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3.2) ทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน บูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ ชุดการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระ จำนวน 7 เล่ม แผนการจัด การเรียนรู้ จำนวน 21 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบวัดทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระ จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) พบว่า มีความจำเป็นที่ต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์ที่หลากหลาย
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) ที่พัฒนาขึ้น มี 6 ขั้นตอน พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.16/84.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะ การคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านสะเตง) พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน บูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการกับทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนคำประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ในภาพรวมมีระดับ ความพึงพอใจมาก