ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงาน ชนิดา พงษ์เจริญ
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ 1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียน 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดชัยมงคล สังกัดเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 27 คน เป็นนักเรียนชาย 16 คน และนักเรียนหญิง 11 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 เรื่องและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 13 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67-1.00 ค่าความยาก ง่าย ตั้งแต่ 0.26-0.77 และค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.24 0.55 จำนวน 50 ข้อ วิธีการดำเนินการ ใช้เวลาในการทดลอง ภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวมจำนวน 18 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent Samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1.แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้รายงานสร้างและพัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.83/88.52 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะระดับมากขึ้น