บทคัดย่อ
หัวข้อวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STADที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ทรัพยากรแร่และน้ำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายศศิวงศ์ พรมสอน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนศิลาลาดวิทยา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2561
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรแร่และน้ำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรแร่และน้ำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรแร่และน้ำกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนศิลาลาดวิทยา อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรแร่และน้ำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.48 ถึง 0.70ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.67 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบลำดับพิสัยวิลคอกซอน (Wilcoxon Signed Rank Test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรแร่และน้ำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ83.77/81.83
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรแร่และน้ำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรแร่และน้ำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.54, "S.D.= 0." 63)