ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรม
เกมการศึกษาสนุกกับคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา ทิพนาถ พรมรัตน์
ปีที่ทำศึกษา ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานผล การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เกมการศึกษาสนุกกับคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดกิจกรรม โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบสา จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวมและเพื่อเปรียบเทียบ ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบสา จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน ซึ่งมีวิธีการดำเนินการศึกษาดังนี้ ทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสนุกกับคณิตศาสตร์ จากแผนที่ 1-27 และคู่มือการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมครบ 27 แผนแล้ว นำแบบแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปทดสอบกับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อีกครั้งหนึ่งโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา ได้แก่ กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 27 แผน คู่มือการจัดเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 27 กิจกรรม และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 15 ข้อ การทดลอง 9 สัปดาห์ และข้อมูลหลังการทดลอง โดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และทดสอบความก้าวหน้าและนำเสนอในรูปตารางประกอบการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ระหว่างการใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
สนุกกับคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบสา จำแนกเป็นรายด้าน จำนวน 9 สัปดาห์ พบว่าด้านการนับ สัปดาห์ที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 1.59 อยู่ในระดับพอใช้ เมื่อจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสนุกกับคณิตศาสตร์ ต่อไปจนถึงสัปดาห์ที่ 9 นักเรียนมีทักษะด้านการนับ เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ โดยคะแนนเฉลี่ยสัปดาห์สุดท้าย 3.00 อยู่ในระดับดี และมีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.37 คิดเป็นร้อยละ 79.00 ด้านการเปรียบเทียบ สัปดาห์ที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 1.29 อยู่ในระดับปรับปรุง เมื่อจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ต่อไปจนถึงสัปดาห์ที่ 9 นักเรียนมีทักษะการเปรียบเทียบ เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์โดยคะแนนเฉลี่ยในสัปดาห์สุดท้าย 3.00 อยู่ระดับดี และมีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.26 คิดเป็นร้อยละ 75.33 ด้านการเรียงลำดับ จากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา สัปดาห์ที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 1.21 อยู่ในระดับปรับปรุง เมื่อจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ต่อไปจนถึงสัปดาห์ที่ 9 นักเรียนมีทักษะการเรียงลำดับ เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ โดยคะแนนเฉลี่ยสัปดาห์สุดท้าย 3 อยู่ในระดับดี และมีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.16 คิดเป็นร้อยละ 72.00 และการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในภาพรวม 9 สัปดาห์ โดยการใช้กิจกรรมเกมการศึกษาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพที่สูงขึ้นตามลำดับคือ คะแนนเฉลี่ย 1.36, 1.53, 1.72, 2.00, 2.35, 2.60, 2.81, 2.99 และ 3.00 มีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.26 คิดเป็นร้อยละ 75.33 แสดงว่า การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษาสนุกกับคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบสา มีผลการพัฒนาเพิ่มขึ้นตลอดเวลาที่มีการจัดกิจกรรม
2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสนุกกับคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบสา จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม ก่อนการจัดกิจกรรม ด้านการนับมีคะแนนเฉลี่ย 2.13 ด้านการเปรียบเทียบ มีคะแนนเฉลี่ย 2.13 ด้านการเรียงลำดับ มีคะแนนเฉลี่ย 1.63 หลังการจัดกิจกรรม ด้านการนับ มีคะแนนเฉลี่ย 4.75 ด้านการเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ย 4.75 ด้านการเรียงลำดับมีคะแนนเฉลี่ย 4.75 คะแนนมากกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ซึ่งคะแนนมีความแตกต่างกัน ด้านการนับรู้ค่าจำนวนมีความแตกต่างคะแนนเฉลี่ย 2.62 คิดเป็นร้อยละ 52.40 ด้านการเปรียบเทียบมีความแตกต่างคะแนนเฉลี่ย 2.62 คิดเป็นร้อยละ 52.40 ด้านการเรียงลำดับมีความแตกต่างคะแนนเฉลี่ย 3.12 คิดเป็นร้อยละ 62.40 และภาพรวมก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 5.88 คิดเป็นร้อยละ 39.20 ภาพรวมหลังการจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ย 14.25 คิดเป็นร้อยละ 95 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น 8.37 มีความก้าวหน้าร้อยละ 55.80 แสดงว่า การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบสา โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษาสนุกกับคณิตศาสตร์ ทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น