เผยแพร่เอกสารประกอบการสอน
วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (ฟุตบอล)
ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6
เรื่อง เกมการแข่งขันกีฬาฟุตบอล
โดย
นายอนุชา ผ้าขาว
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (ฟุตบอล)
ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6
โรงเรียนวัดท่ากุ่ม
อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
เกมการแข่งขันกีฬาฟุตบอล
หลังจากการฝึกทักษะพื้นฐานทุกๆ ทักษะ นักเรียนส่วนหนึ่งมีความสามารถที่จะเล่นได้ เพื่อความสนุกสนาน และท้าทายเพิ่มขึ้น เพราะกีฬาเมื่อฝึกแล้วต้องให้นักเรียนลงสู่สนามแข่งขัน เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์โดยนักเรียนค้นหาตัวเองจากประสบการณ์จริง จึงจัดให้เล่นเกมในท้ายเรื่องหรือท้ายกิจกรรมดังนี้
1. แข่งขันการส่งลูกฟุตบอล
ใช้หลัก (กรวย) วางห่างกัน 1 เมตร
ขีดเส้นห่างจากเส้นแดนหลักละ 5 เมตร
ให้ส่งลูกฟุตบอลลอดช่องในเวลา 1 นาที
เข้ามาส่งล้ำเส้นเป็นการฟาล์ว (ถ้าลูกฟุตบอลอยู่ในเส้น) ให้ใช้ฝ่าเท้าดึงออกมานอกเส้นจึงส่ง
หมายเหตุ อนุญาตให้ใช้ได้ทุกสวนของเท้า ห้ามใช้มือ
= ทิศทางบอล
= หลักสีส้ม
2. แข่งขันการบังคับลูกฟุตบอล (เดาะ)
แข่งขันโดยผู้แทนของกลุ่ม 1 คน จำนวน 5 กลุ่ม
อยู่ในพื้นที่ 20 20 เมตร
ให้เดาะโดยวิธีใช้มือจับเริ่มแรกหรือใช้เท้าดึงขึ้นมาก็ได้
ใช้เวลาในการแข่งขัน 3 นาที
ใครทำลูกฟุตบอลตกต้องออกพื้นที่
จัดแข่งขัน 3 ชุด โดยกลุ่มผู้แทนกลุ่มละ 3 คน
สรุป กลุ่มใดเดาะได้มากครั้งเป็นผู้ชนะ
ใช้ได้ทุกส่วนของเท้า ห้ามใช้มือหลังเริ่มเล่น
3. แข่งขันการเคลื่อนที่ไปกับลูกฟุตบอล (เลี้ยง)
ให้แต่ละกลุ่มส่งผู้แทนมากลุ่มละ 3 คน แข่งชุดละ 1 คน
ปักหลักห่างกัน 10 หลักๆละ 1.5 เมตร 5 ชุด
เส้นเริ่มมีทั้ง 2 ด้าน (หัว-ท้าย) ห่างจากหลักแรกและหลักสุดท้าย 5 เมตร
ให้เริ่มแล้วลี้ยงซิกแซก ทุกเสา ถ้าข้ามไม่นับให้เป็นฟาล์ว เพื่อถ้าหลักที่ 10 ให้เลยไปกลับตัว หลักสุดท้าย เพื่อมาเริ่มซิกแซกกลับ
ใช้เวลาแข่งขันชุดละ 2 นาที
นับสถิติรวมทีมใดสามารถซิกแซกได้มากกว่าเป็นทีมชนะในครั้งนี้
= หลัก
= ทิศทางการเลี้ยงลูกฟุตบอลเคลื่อนที่
4. แข่งขันการเล่นลูกบอลด้วยศีรษะ (โหม่ง)
ให้ทีมส่งผู้แทนทีมละ 2 คน
ให้โต้โหม่ง ใช้อวัยวะอื่นช่วยได้ (แต่ไม่นับ)
นับเฉพาะการส่งจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งด้วยศีรษะเท้านั้น (ลูกแรกที่โยนด้วยมือ ทุกครั้งไม่นับ)
ทีมใดโหม่งได้ครบ 100 ครั้งก่อนเป็นทีมชนะ
ระยะห่างแล้วแต่ความเหมาะสม
= หลักสีส้ม
= ทิศทางส่งบอล
= ทิศทางโหม่งบอล
5. แข่งขันฟุตบอลสนามเล็ก (โกล์รูหนู) ไม่มีล้ำหน้า
ใช้ผู้เล่นทีมละ 5 คน ไม่มีผู้รักษาประตู
ใช้โกล์เล็ก (รูหนู)
ขีดรัศมีที่โกล์ 5 เมตร
ห้ามผู้เล่นเข้าไปป้องกันในเขต (ถ้ามีการป้องกันในเขต ให้ยิงโทษที่กึ่งกลางสนาม จังหวะเดียว)
ขนาดสนาม 30 x 30 เมตร
ใช้เวลาในการแข่งขัน 15 นาที ไม่มีพักระหว่างครึ่งเวลา
ทีมใดทำประตูได้มากกว่าชนะ (เสมอยิงโทษที่กึ่งกลางสนาม)
6. แข่งขันฟุตบอลสนามเล็ก (ใช้โกล์แฮนด์บอล) ไม่มีล้ำหน้า
ใช้ผู้เล่นทีมละ 7 คน (มีผู้รักษาประตู)
ใช้โกล์แฮนด์บอล
ขนาดสนาม 50 x 50 เมตร
ใช้เวลาในการแข่งขัน 15 นาที ไม่มีเวลาพักระหว่างครึ่ง
ทีมใดทำประตูได้มากว่าชนะ (เสมอยิงโทษที่จุดเขตโทษ ห่างจากโกล์ 10 หลา ป้องกันประตูได้)
7. การแข่งขันฟุตบอล
ใช้สนามฟุตบอลขนาดปกติ
จำนวนนักกีฬาที่ลงสนามทีมละ 11 คน เปลี่ยนตัวได้ 3 คน
ใช้เวลาในการแข่งขันคู่ละ 40 นาที
การจับคู่แข่งขันใช้วิธีจับฉลากประกบคู่ แข่งรอบแรกหาผู้ชนะ
- ทีมชนะเข้าไปชิงชนะเลิศ
- ทีมแพ้ชิงอันดับที่ 3
นอกเหนือจากนี้ใช้กติกาการแข่งขันมาตรฐานสากลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
นักเรียนที่ไม่ได้ทำการแข่งขัน ปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ ผู้ตัดสิน ผู้กำกับเส้น ผู้บันทึก