ความเป็นมา/แนวคิด
พระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช ๒๕๔๒ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และ สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๒) มาตรา ๔ ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาไว้ว่าเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สติปัญญาความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มาตรา ๒๒ ได้กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่า ผู้เรียน มีความสำคัญมากที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ มากที่สุด อันจะช่วยให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีได้นั้น การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา จึงควรคำนึงถึง ผู้เรียน เป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และผู้เรียนค้นพบ ด้วยตนเอง ซึ่งการจัดการเรียนรู้สามารกระทำได้หลายรูปแบบ จัดตามสภาพจริง จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้จากการปฏิบัติการจริง เรียนรู้จากธรรมชาติ และเรียนรู้แบบบูรณาการ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาการคิดของผู้เรียน ให้ผู้เรียนรู้จักคิดไตร่ตรอง คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดอย่างสร้างสรรค์ และพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เข้าใจตนเอง เห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนรู้จักแก้ปัญหาสุขภาพของตนเองและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เพื่อการมีสุขภาพที่ดี
ความสำเร็จของการเรียนการสอนสุขศึกษา คือการที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด ซึ่งการเรียนรู้สุขศึกษาจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้เรียนมีความพร้อม มีทัศนคติที่ถูกต้อง มีแรงจูงใจ และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม หรือมีสภาพการจัดกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความหลากหลายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม กับสาระการเรียนรู้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยพิจารณาให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ มีส่วนร่วมมากที่สุด ในการเรียนรู้ และเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง
โรงเรียนวัดท่ากุ่ม สังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ปีการศึกษา ๒๕๕๗ มีนักเรียนทั้งสิ้น 77 คน มีข้าราชการครู ๓ คน พนักงานราชการ ๑ คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๘ ห้องเรียน การจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาของผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตามจุดมุ่งหมาย ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ อีกทั้งยังได้พยายามพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ที่มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนมีสุขภาพ หรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางสติปัญญา ซึ่งทุกคนควรจะได้เรียนรู้เรื่องสุขภาพ เพื่อจะได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีเจตคติ คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม รวมทั้งมีทักษะการปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นกิจนิสัย อันจะส่งผลให้สังคมโดยรวมมีคุณภาพ แต่ด้วยสภาพชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ มีสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ค่านิยม ความเชื่อ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ การติดต่อสื่องสารและเทคโนโลยีอันทันสมัย ส่งผลให้ครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะสอนให้เด็กรู้จัก รักษาและปรับปรุงสุขภาพของตนเอง ให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีความสุข และสามารถกระทำการใดๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชีวิตของตัวเอง ครอบครัวและชุมชนซึ่งผลจากการที่เด็กมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ จะมีผลทำให้เด็กเกิดความสัมฤทธิ์ผลทางด้านการเรียนและการดำรงชีวิตของตนเอง ดีขึ้น
โรงเรียนวัดท่ากุ่ม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีกรอบโครงสร้างของหลักสูตรประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและสัดส่วนเวลาเรียนในแต่ละชั้นตามตาราง ดังต่อไปนี้
ตารางที่ ๑ แสดงกรอบโครงสร้าง : เวลาเรียน โรงเรียนวัดท่ากุ่ม
กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม เวลาเรียน
ป.๑ ป.๒ ป.๓ ป.๔ ป.๕ ป.๖
* กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (รวมสาระเพิ่มเติม ๔๐ ชม) ๒๔๐ ๒๔๐ ๒๔๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐
คณิตศาสตร์ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐
สุขศึกษาและพลศึกษา ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
ศิลปะ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
รวมเวลาเรียน(พื้นฐาน) ๘๘๐ ๘๘๐ ๘๘๐ ๘๘๐ ๘๘๐ ๘๘๐
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
แนะแนว ชม./ปี ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐
ลูกเสือ เนตรนารี ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐
กิจกรรมชุมนุม ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐
กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐
รวมเวลาเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐
รวมเวลาเรียนทั้งสิ้น ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐
ในการจัดการเรียนการสอน ผู้รายงานได้ศึกษา และสำรวจปัญหาการจัดกระบวนการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖พบปัญหา ๔ ด้านดังนี้
๑. ปัญหาเกี่ยวกับตัวครู พบว่าครูมีข้อมูลภาระงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบหลายภาระงาน การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ยังไม่หลากหลาย และไม่ได้คุณภาพที่ควรจะเป็น
๒. ปัญหาเกี่ยวกับตัวนักเรียน นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนแต่ขาดความมั่นใจในการแสดงออกขาดทักษะในการทำงานกลุ่ม
๓. ปัญหาเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนมีไม่เพียงพอต่อความจำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะสื่อที่มีเนื้อหาสาระที่ตรงประเด็นและมีรูปแบบที่น่าสนใจ
๔. ปัญหาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ปัญหาและความจำเป็นในการพัฒนา
๑. ปัญหาจาการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆที่กล่าวมาแล้ว พบปัญหาที่สำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
๒. ปัญหาเกี่ยวกับตัวครู มีภาระงานที่ได้รับมอบหมายมาก แผนการจัดการเรียนรู้ยังไม่หลากหลาย
๓. ปัญหาเกี่ยวกับตัวนักเรียน นักเรียนขาดความมั่นใจและไม่กล้าแสดงออก
๔. ปัญหาเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน ขาดสื่อ สำหรับใช้ประกอบการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ
๕. ปัญหาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สาเหตุของปัญหา
๑. สาเหตุเกี่ยวกับตัวครู ครูมีภาระงานมาก ขาดการพัฒนาตนเองในการจัดทำแผนการจัดการ เรียนรู้ ที่หลากหลายและมีคุณภาพ
๒. สาเหตุเกี่ยวกับตัวนักเรียน นักเรียนขาดทักษะในการนำเสนอ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจและไม่กล้าแสดงออกขาดทักษะในการทำงานกลุ่ม
๓. สาเหตุเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน สื่อมีน้อย
๔. สาเหตุเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
แนวทางการแก้ปัญหา
จากปัญหาและสาเหตุของปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้จัดทำเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว โดยได้นำตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางมาดำเนินการดังนี้
๑. ได้จัดทำเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โดยนำตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางจากสาระที่ ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ หน่วยที่ ๑ เรื่อง ตัวเรา สาระที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว หน่วยที่ ๒ เรื่อง ครอบครัวของฉัน มาจัดทำเอกสารประกอบการเรียน ชุด ตัวเราและครอบครัว จำนวน ๔ เล่ม คือ เล่มที่ ๑ เรื่องระบบย่อยอาหาร
เล่มที่ ๒ เรื่องระบบขับถ่าย
เล่มที่ ๓ เรื่องเพศศึกษา
เล่มที่ ๔ เรื่องครอบครัวและเพื่อน
๒. จัดทำและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ประกอบด้วย ๒ หน่วย การจัดการเรียนรู้ จำนวน ๑๐ แผนการจัดการเรียนรู้ คือหน่วยการเรียนรู้ ที่ ๑ จำนวน ๔ แผนการเรียนรู้ หน่วยที่ ๒ จำนวน ๖ แผนการเรียนรู้
๒. วัตถุประสงค์
จากปัญหาและความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ผู้เขียนรายงานจึงได้วางแผนการจัดทำและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
๑. เพื่อสร้างเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียน สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โรงเรียนวัดท่ากุ่ม ก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชา สุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ที่มีต่อการเรียนรู้โดยการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว
ขอบเขตการรายงาน
๑. กลุ่มประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โรงเรียนวัดท่ากุ่ม ปีการศึกษา ๒๕๕๗ จำนวน ๑๐ คน
๒. ระยะเวลาดำเนินการ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ถึง วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
นิยามศัพท์
๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนจากการวัดและประเมินผลจากการทดสอบก่อนเรียนการทดสอบหลังเรียนในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้
๒. ความพึงพอใจของนักเรียน หมายถึง ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนการสอนและประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนการสอน
๓. เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา หมายถึง เอกสารที่ผู้รายงานสร้างขึ้น และใช้สื่อ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ชุดตัวเราและครอบครัว จำนวน ๔ เล่ม ดังนี้
เล่มที่ ๑ เรื่องระบบย่อยอาหาร
เล่มที่ ๒ เรื่องระบบขับถ่าย
เล่มที่ ๓ เรื่องเพศศึกษา
เล่มที่ ๔ เรื่องครอบครัวและเพื่อน
๔. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หมายถึง คะแนนสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว เป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย ๔ ตัวเลือก จำนวน ๔๐ ข้อ
๕. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา หมายถึงเกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑. ได้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาได้
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา โดยใช้เอกสารประกอบ การเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖พัฒนาขึ้น
๓. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ด้านเนื้อหา วิธีการและกระบวนการสอน สื่อภาพประกอบ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๓. วิธีดำเนินการพัฒนา
ผู้เขียนรายงานได้ศึกษาข้อมูล วิธีการ จากแหล่งค้นคว้าและเอกสารต่างๆ ในการดำเนินการสร้างและพัฒนา การใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โรงเรียนวัดท่ากุ่ม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินการ
เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาเกิดประสิทธิภาพตรงตราวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงกำหนดรายละเอียดตามขั้นตอนการศึกษาพัฒนา ๓ ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ เตรียมการสร้างเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โดยการศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง นำมาสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบสอบถามความพึงพอใจ
ขั้นตอนที่ ๒ ดำเนินการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖จากนั้นทำการประเมินผล ตรวจสอบความถูกต้อง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ ๓ การรายงานผลการศึกษาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อผู้บริหารสถานศึกษา
๑. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนวัดท่ากุ่ม จำนวน ๑๐ คน
๒. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา
สาระที่ ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ประกอบด้วยเนื้อหารย่อย เรื่องความสำคัญของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย วิธีการดูแลรักษาระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
สาระที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว ประกอบด้วยเนื้อหารย่อยคือ เพศศึกษา การเปลี่ยนแปลง ทางเพศและการดูแลตนเอง การวางตัวที่เหมาะสมกับเพศตามวัฒนธรรม ลักษณะของครอบครัวที่อบอุ่นตามวัฒนธรรมไทย ( ครอบครัวขายการนับเครือญาติ ) พฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว
๓. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
๑. เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖จำนวน ๔ เล่ม คือ เล่มที่ ๑ เรื่องระบบย่อยอาหาร
เล่มที่ ๒ เรื่องระบบขับถ่าย
เล่มที่ ๓ เรื่องเพศศึกษา
เล่มที่ ๔ เรื่องครอบครัวและเพื่อน
๒. แผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ประกอบด้วย ๒ หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ตัวเรา จำนวน ๔ แผนการจัดการเรียนรู้ และหน่วยที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว จำนวน ๖ แผนการจัดการเรียนรู้
๓. แบบทดสอบประเมินความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้แบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๔ ชุด ชุดละ ๑๐ ข้อ เป็นข้อคำถามให้นักเรียนเลือกตอบ โดยให้เขียนเครื่องหมาย  ข้อคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว นักเรียนที่ตอบถูกให้ ๑ คะแนน นักเรียนที่ตอบผิดให้ ๐ คะแนน
๔. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุดตัวเราและครอบครัว แบบเลือกตอบชนิด ๔ ตัวเลือก จำนวน ๒๐ ข้อ
๕. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว จำนวน ๑๕ ข้อ
๔. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
๑. เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖มีขั้นตอนการสร้างดังนี้
๑.๑ ศึกษาและวิเคราะห์ สำรวจหาสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำกว่าสถานศึกษากำหนด ของนักเรียนโรงเรียนวัดท่ากุ่ม
๑.๒ ศึกษาหลักสูตรสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษาอย่างละเอียดเพื่อวิเคราะห์มาตรฐาน สาระ เนื้อหา และตัวชี้วัดหรือจุดประสงค์การเรียนรู้
๑.๓ เลือกเนื้อหาจากการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เนื้อหาที่เป็นปัญหากับนักเรียน
๑.๔ ศึกษารูปแบบการเขียนเอกสารประกอบการเรียน
๑.๕ ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมเนื้อหาสาระจากตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อสร้างจุดประสงค์เนื้อหา วิธีการ และสื่อประกอบเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา
๑.๖ เขียนเนื้อหาอย่างละเอียดในแต่ละตอน ซึ่งได้แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย รวมทั้งภาพประกอบ และแบบทดสอบที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดหรือจุดประสงค์การเรียนรู้
๑.๗ นำเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง ความเที่ยงตรงด้านเนื้อหา
๑.๘ นำเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ที่แก้ไขข้อบกพร่องแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนวัดท่ากุ่ม
ปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพื่อหาค่าประสิทธิภาพ เก็บข้อมูลและบันทึกผลการใช้
๑.๙ นำเอกสารประกอบการเรียนที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนวัดท่ากุ่ม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๒. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
วิธีสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ผู้เขียนรายงานได้ดำเนินการดังนี้
๑. แบบทดสอบ เพื่อใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๔ ชุด ข้อสอบทุกข้อทุกชุดสร้างขึ้นโดยยึดจุดประสงค์ การเรียนรู้เป็นหลัก และดำเนินการให้เกิดคุณภาพโดยมีการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขแล้ว
๒. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา มีขั้นตอนการดำเนินการ คือ กำหนดข้อคำถามให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระ ด้านรูปแบบ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม จุดประสงค์ การเรียนรู้ เลือกประเภทแบบวัดเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) สร้างตามแบบของ ลิเคิร์ท ( Likert) สร้างแบบสอบถามตามโครงสร้างของตัวแปรต่างๆที่ได้มาจากการสังเคราะห์ทฤษฎี หลักการ เอกสาร ผลงานทางวิชาการ และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ได้แบบสอบถามฉบับร่าง ๑๕ ข้อ เมื่อได้ข้อความแล้วกำหนดคำตอบ ๕ ระดับ คือมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
๕ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
๔ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มาก
๓ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับ ปานกลาง
๒ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับ น้อย
๑ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับ น้อยที่สุด
สำหรับการให้ความหมายของค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่วัดได้ ผู้เขียนรายงานกำหนดเกณฑ์
ที่ใช้ในการให้ความหมายโดยพิจารณาค่าระดับความพึงพอใจ ดังนี้
๔.๕๑ ๕.๐๐ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
๓.๕๑ ๔.๕๐ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มาก
๒.๕๑ ๓.๕๐ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับ ปานกลาง
๑.๕๑ - ๒.๕๐ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับ น้อย
๑.๐๐ ๑.๕๐ หมายถึง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับ น้อยที่สุด
๕. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
๕.๑ เครื่องมือสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๑) เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา และ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญวิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖จำนวน ๑๐ แผน ครอบคลุมเนื้อหาสาระ ๒ หน่วยการเรียนรู้ จำนวน ๔ เล่ม รายละเอียดดังแสดงในตาราง ดังนี้
เอกสารเล่มที่/เรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวนชั่วโมง
เล่มที่ ๑ เรื่อง ระบบย่อย
อาหารและวิธีการดูแลระบบย่อยอาหาร แผนที่ ๑ - อวัยวะในระบบย่อยอาหาร
- ความสำคัญระบบย่อยอาหาร
แผนที่ ๒ - การทำงานระบบย่อยอาหาร
- การดูแลระบบย่อยอาหาร ๑
๑
๑
๑
เล่มที่ ๒ เรื่อง ระบบขับถ่าย
และวิธีการดูแลระบบขับถ่าย แผนที่ ๓ - อวัยวะในระบบขับถ่าย
- ความสำคัญระบบขับถ่าย ๑
๑
เอกสารเล่มที่/เรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวนชั่วโมง
เล่มที่ ๒ เรื่อง ระบบขับถ่าย
และวิธีการดูแลระบบขับถ่าย แผนที่ ๔ - การทำงานระบบขับถ่าย
- การดูแลระบบขับถ่าย ๑
๑
เล่มที่ ๓ เรื่อง เพศศึกษา แผนที่ ๕ - การเปลี่ยนแปลงทางเพศ
แผนที่ ๖ - การดูแลตนเองเมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงทางเพศ
แผนที่ ๗ - การวางตัวที่เหมาะสมกับเพศ
ตามวัฒนธรรมไทย ๒
๒
๒
เล่มที่ ๔ เรื่อง ครอบครัวและเพื่อน แผนที่ ๘ - ครอบครัว
- ลักษณะของครอบครัวที่อบอุ่น
ตามวัฒนธรรมไทย
แผนที่ ๙ - ปัญหาในครอบครัว
- พฤติกรรมในการแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้งในครอบครัว
แผนที่ ๑๐ - เพื่อนและความขัดแย้งกับเพื่อน
- พฤติกรรมในการแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้งกับเพื่อน ๑
๑
๑
๑
๑
๑
๒) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว จำนวน ๑๕ ข้อ
๕.๒ เครื่องมือสำหรับประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย
๑) แบบทดสอบประเมินความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้แบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๔ ชุด ชุดละ ๑๐ ข้อ เป็นข้อคำถามให้นักเรียนเลือกตอบ โดยให้เขียนเครื่องหมาย  ข้อคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว นักเรียนที่ตอบถูกให้ ๑ คะแนน นักเรียนที่ตอบผิดให้ ๐ คะแนน
๒ ) แบบทดสอบความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการรายงานพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนและแผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียน มีขั้นตอนดังนี้
๑. เก็บข้อมูลโดยใช้ข้อทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนตามเวลาที่กำหนดไว้ในเอกสารประกอบการเรียนและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๐ คน ข้อสอบชุดตัวเราและครอบครัว จำนวน ๒๐ ข้อ ทำการตรวจสอบและบันทึกผลคะแนนของนักเรียนเป็นรายบุคคล
๒. แก้ข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสภาพจริงที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ กับนักเรียนจำนวน ๒๐ คน ทำการตรวจและบันทึกผลคะแนนของนักเรียนเป็นรายบุคคล
๓. เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ตรวจและบันทึกข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
๑. คำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) เพื่อหาระดับค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบก่อนและ หลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา
๒. คำนวณหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
๓ . คำนวณหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและระดับความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โรงเรียนวัดท่ากุ่ม ที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทั้งหมด ประกอบด้วย
ค่าเฉลี่ย (Mean)
๒. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation)
๓. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ
๔. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๔. ผลที่ได้รับ
๑. ผลที่เกิดกับผู้เรียน
๑.๑ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ตารางที่ ๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียน ชั้นประศึกษาปีที่ ๖ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕,๒๕๕๖,และปีการศึกษา ๒๕๕๗
ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๗
๖๗ ๖๙ ๗๕.๔๗
จากการได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการเรียนรู้ประกอบเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทำให้นักเรียน มีผลการเรียนรู้ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ , และปีการศึกษา ๒๕๕๖ กล่าวคือ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๖๗ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ คิดเป็นร้อยละ ๖๙ และปีการศึกษา ๒๕๕๗ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๔๗ จะเห็นได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๖ เพิ่มขึ้น มีการพัฒนาที่ดีขึ้น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖มีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบ การเรียน สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ ๙๕.๕๐ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
๑. ๒ ด้านคุณธรรม จริยธรรมและการเรียนรู้อย่างมีความสุข
นักเรียนมีการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สถานศึกษากำหนด มีความสุขในการเรียนเพราะได้รับการเสริมแรงจากครูผู้สอน นักเรียนสามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น มีการพัฒนาตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้น และเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล้าพูด กล้าแสดงออก ในทางที่ดี ด้วยความมั่นใจ ร่าเริง แจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น มีความกระตือรือร้น มาเรียนสม่ำเสมอ เรียนและร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างมีความสุข วาจาฉะฉานมากขึ้น กล้าตอบคำถามและ เผยแพร่ความรู้ โดยการอธิบายให้เพื่อนๆ น้อง และนักเรียนคนอื่นๆฟังได้ นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ ในผลงานของตนเอง ร่วมแสดงความยินดีกับผลงานเพื่อนคนอื่นๆ ร่วมแสดงความคิดเห็น วิภาควิจารณ์ และยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่นๆด้วยความเต็มใจ รู้จักการไหว้ และไหว้ได้สวยขึ้นโดยไม่เคอะเขิน (นักเรียนอิสลาม ร้อยละ ๙๐ ) นักเรียนมีมารยาทไทยและปฏิบัติได้ดี เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและครู รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆมากขึ้นเช่น นักเรียนเข้าศึกษาค้นคว้าในห้องสมุด สามารถ ค้นคว้า สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็วขึ้น และรู้จักนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับเชื่อมโยงและ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
นักเรียนสนใจเรียน แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และบันทึกความรู้อย่างสม่ำเสมอ ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความตั้งใจ ตระหนัก และรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ นักเรียนจัดทำบันทึกผลการเรียนรู้หรือศึกษาอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดทำ รายงาน สมุดบันทึกความรู้ บันทึกการอ่าน เอกสารการศึกษาความรู้ต่างๆ ซึ่งสามารถใช้แหล่งความรู้และเอกสารอ้างอิงได้ นักเรียนมีสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ พิจารณาได้จากรายงานการเรียนรู้ด้วยระบบการสืบค้นโดยการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษาเรื่อง ระบบการย่อยอาหาร ระบบการขับข่าย การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม โดยมีพฤติกรรมในเรื่อง การมีวินัยในการทิ้งขยะ ใช้ทรัพยากรโรงเรียนอย่างประหยัดและคำนึงถึงความคุ้มค่า ดูแลและรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียน ร่วมกับชุมชนปลูกต้นไม้ในท้องถิ่น ร่วมกันทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน วัด มัสยิด
๒. ผลที่เกิดกับครู
ครูได้พัฒนาตนเอง สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ ได้รับ คำชมจากผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อนครู ได้รับเกียรติบัตรครูดีเด่นระดับอำเภอ รางวัลหนึ่งแสนครูดี จากสำนักงานคุรุสภา เป็นที่ไว้วางใจและได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงาน ผู้ปกครอง และชุมชน
ได้รับความไว้วางใจ ความเชื่อถือ ความศรัทธา เป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนร่วมงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนครูให้เป็นที่ปรึกษาและได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารให้รับผิดชอบในฝ่ายต่างๆ ของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ
๓. ผลที่เกิดต่อผู้ปกครอง
สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับ เป็นที่เชื่อถือ สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เพราะได้รับ ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ชุมชน หรือองค์การบริหารส่วนตำบล และ องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและติดต่อประสานงาน จนได้รับความเชื่อถือและเป็นที่ศึกษาดูงานของโรงเรียนอื่นๆมากมาย
จาการตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ในการสอนและการประสานสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ปกครองและชุมชน ทำให้ผู้ปกครองเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยให้ความสำคัญและใส่ใจต่อการมาเรียนของนักเรียน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาโดยรวมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรมที่โรงเรียนขอความร่วมมือ ทำให้โรงเรียนสามารถพัฒนาผู้เรียนได้บรรลุคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๔. ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
สถานศึกษาได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้การบริหารจัดการของสถานศึกษาดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐบาล
สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับ เป็นที่เชื่อถือ สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เพราะได้รับ ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ชุมชน หรือองค์การบริหารส่วนตำบล และ องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและติดต่อประสานงาน จนได้รับความเชื่อถือและเป็นที่ศึกษาดูงานของโรงเรียนอื่นๆมากมาย
ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าพเจ้าด้วยความมุ่งมั่น เสียสละและเอาใจใส่ต่อ ภารงานที่รับผิด และเป็นกัลยาณมิตร บังเกิดผลต่อสถานศึกษา ดังนี้
๑) คณะครูในสถานศึกษามีความพึงพอใจและก่อให้เกิดความสามัคคีที่ดีต่อกัน ก่อให้เกิดการประสานงานและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำให้การปฏิบัติงานของสถานศึกษาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๒) ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน ครู ผู้บริหารและชุมชนในการสร้างชื่อเสียงให้แก่สถานศึกษาและส่วนรวมได้แก่ การได้รับการคัดเลือกให้นำผลงานทางวิชาการ การนำเสนอผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน(สสวท.) ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
๓) สถานศึกษาได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 3 ให้เป็นโรงเรียนที่จัดส่งข้อมูลทันตามกำหนดเวลาอย่างดีเยี่ยม
๕ . ผลที่เกิดกับชุมชน
ชุมชนยอมรับการจัดการบริหารของสถานศึกษาที่ให้โอกาสชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการ ศึกษาและชุมชนปฏิบัติตามระเบียบแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมีความรู้ทันเหตุการณ์ในการพัฒนาการศึกษา
๖. สรุปผลที่ได้รับจากการใช้นวัตกรรม ( เอกสารประกอบการเรียนฯ)
จากการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โรงเรียนวัดท่ากุ่ม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ดังนี้
นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ปีการศึกษา ๒๕๕๗ จำนวน ๑๐ คน
ตารางที่ ๑ แสดงผลคะแนนการทดสอบระหว่างการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว เล่มที่ ๑ ๔ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖จำนวน ๒๐ คน
คะแนนทดสอบรายเรื่อง
นักเรียน เล่มที่ ๑ เล่มที่ ๒ เล่มที่ ๓ เล่มที่ ๔ รวม หลังเรียน
( ๑๐ ) ( ๑๐ ) ( ๑๐ ) ( ๑๐ ) ( ๔๐ ) ( ๒๐ )
๑ ๖ ๘ ๙ ๙ ๓๒ ๑๕
๒ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๔๐ ๑๙
๓ ๙ ๙ ๘ ๘ ๓๔ ๑๘
๔ ๙ ๘ ๙ ๙ ๓๕ ๑๘
๕ ๘ ๙ ๘ ๙ ๓๔ ๑๕
๖ ๑๐ ๘ ๑๐ ๑๐ ๓๘ ๑๗
คะแนนทดสอบรายเรื่อง
นักเรียน เล่มที่ ๑ เล่มที่ ๒ เล่มที่ ๓ เล่มที่ ๔ รวม หลังเรียน
( ๑๐ ) ( ๑๐ ) ( ๑๐ ) ( ๑๐ ) ( ๔๐ ) ( ๒๐ )
๗ ๙ ๙ ๙ ๘ ๓๕ ๑๘
๘ ๙ ๗ ๙ ๙ ๓๔ ๑๕
๙ ๘ ๘ ๑๐ ๘ ๓๔ ๑๕
๑๐ ๑๐ ๘ ๘ ๘ ๓๔ ๑๗
รวม ๓๕๐ ๑๖๗
เฉลี่ย ๓๕ ๑๗
ร้อยละ ๘๘ ๘๕
จากตาราง ๑ พบว่า : ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านทุ่งนาเคียน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ สามารถคำนวณประสิทธิของเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว โดยใช้เกณฑ์( E1/E2) ๘๐/๘๐ จากการคำนวณพบว่า เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๘/๘๕ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ ที่กล่าวว่าเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ตารางที่ ๒ แสดงผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
นักเรียน คะแนนทดสอบก่อนการใช้
เอกสารประกอบการเรียน
( ๒๐ ) คะแนนทดสอบหลังการใช้
เอกสารประกอบการเรียน
( ๒๐ ) คะแนนความก้าวหน้า คะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
๑ ๑๐ ๑๕ ๕ ๒๕
๒ ๑๒ ๑๙ ๗ ๓๕
๓ ๑๔ ๑๘ ๔ ๒๐
๔ ๑๒ ๑๘ ๖ ๓๐
๕ ๑๒ ๑๕ ๓ ๑๕
๖ ๑๔ ๑๗ ๓ ๑๕
๗ ๑๓ ๑๘ ๕ ๒๕
๘ ๑๐ ๑๕ ๕ ๒๕
๙ ๑๐ ๑๕ ๕ ๒๕
๑๐ ๑๒ ๑๗ ๕ ๒๕
รวม ๒๕๑ ๓๔๕ ๙๐ ๔๕๐
เฉลี่ย ๑๒.๕๕ ๑๗.๒๕ ๔.๕๐ ๒๒.๕๐
ร้อยละ ๖๒.๗๕ ๘๖.๒๕ ๒๒.๕๐
จากตารางที่ ๒ พบว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าขึ้น จากการนำเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว สูงขึ้นร้อยละ ๒๒.๕๐ แสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ ๒
จากการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชุดตัวเราและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โรงเรียนวัดท่ากุ่ม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
สรุปผลที่ได้รับจากการใช้นวัตกรรม ( เอกสารประกอบการเรียนฯ) คือ
๔.๑ ผลิตนวัตกรรมเอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา โดยการรวบรวมความรู้ ข้อมูลจากตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหนังสือเสริมประสบการณ์ ให้ความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัย
๔.๒ เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ก่อนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนแล้วนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น พัฒนาขึ้น
๔.๓ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖มีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบ การเรียน สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ ๙๕.๕๐ อยู่ในระดับมากที่สุด
๕. ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สามารถนำไปใช้และเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖หรือคุณครูอาจจะทำการสอนแบบบูรณาการได้