ชื่อผู้วิจัย นายอุทัย เรืองนุ่น
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการจัด การเรียนการสอน การใช้สื่อ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนสาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักร การเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 3) ทดลองใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักร การเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินและปรับปรุง หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในด้านประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของผู้เรียน และข้อความปรับปรุงแก้ไข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา การจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อและ ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนสาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 162 คน ผู้ปกครองของผู้เรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ รวม 28 คน รวมทั้งสิ้น 190 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ขั้นตอนที่ 2 สร้างและหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอน ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการนำผลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 ที่พบว่า ผู้เรียนขาดสื่อการเรียนด้านความรู้ ความเข้าใจ ความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ขาดการส่งเสริมให้มีทักษะด้านต่าง ๆ และความต้องการจำเป็นต้องใช้สื่อของผู้เรียนมาวิเคราะห์สร้างสื่อที่ผู้เรียนต้องการมากที่สุด คือ หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและ การสอนสาระประวัติศาสตร์ ด้านการวัดผลประเมินผล รวม 5 คน ตรวจสอบความถูกต้อง มีองค์ประกอบสมบูรณ์ และประเมินความสอดคล้อง (IOC) ประเมินคุณภาพ และทดลองใช้แบบเดี่ยว (1 : 1) ปรับปรุงแก้ไขและทดลองใช้กับกลุ่มย่อย (1 : 10) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ E1/E2 และวิเคราะห์เนื้อหา ปรับปรุงแก้ไข
ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอน ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยทดลองใช้กับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test) เทียบค่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนและค่าความพึงพอใจ
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยนำหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบ การสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es ที่สร้างและพัฒนาขึ้นทั้ง 10 เล่มไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 จำนวน 40 คน ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เพื่อประเมินผลด้านประสิทธิภาพ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ด้านความพึงพอใจ และข้อควรปรับปรุงแก้ไข และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ E1/E2 วิเคราะห์ประสิทธิภาพ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความพึงพอใจ
ผลการวิจัยและพัฒนา พบว่า
ขั้นตอนที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อและความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนสาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
1.1 การจัดการเรียนการสอนสาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ครูใช้สื่อไม่หลากหลาย ไม่สอดคล้องกับบทเรียนและครูใช้สื่อน้อย
1.2 การจัดการเรียนการสอนไม่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และไม่ส่งเสริมทักษะต่าง ๆ เท่าที่ควร
1.3 ครูไม่ค่อยมีการผลิตสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบทเรียนและวัยของผู้เรียนเท่าที่ควร จึงทำให้ผู้เรียนขาดทักษะด้านต่าง ๆ ทั้งความรู้ ความคิด โดยเฉพาะทักษะการคิด จึงส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
1.4 ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องเสนอแนะให้ครูผลิตสื่อ ใช้สื่ออย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อที่สามารถนำกลับไปเรียนที่บ้านได้
1.5 สื่อที่ดีควรเป็นสื่อที่ครูผลิตขึ้นเองตามความเหมาะสม สอดคล้องกับบทเรียนและวัยของผู้เรียน
1.6 ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องต้องการให้ครูใช้สื่อมาก ๆ และหลากหลาย โดยเฉพาะสื่อที่ใกล้ตัว เช่น หนังสืออ่านเพิ่มเติม เอกสารประกอบการเรียนรู้ เป็นต้น
1.7 ผลการศึกษาเอกสารการวัดผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวม 4 ปีการศึกษา เฉลี่ยร้อยละ 79.85 แต่สาระประวัติศาสตร์ได้ร้อยละ 76.00 ไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 80.00
ขั้นตอนที่ 2 ผลการสร้างและพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบ การสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 เล่ม ผู้เชี่ยวชาญประเมินค่า IOC มีค่าเท่ากับ 0.96 โดยภาพรวม และประเมินคุณภาพ พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบ วัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากโดยภาพรวม ( = 4.27, S.D. = 1.13) ผลการทดลองใช้แบบ 1 : 1 E1/E2 = 56.00/58.33 และ 1 : 10 E1/E2 = 74.10/73.50 ประสิทธิภาพมีการพัฒนาขึ้น แม้จะยังไม่เท่ากับ 80/80 ก็มีความใกล้เคียงความจริงมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 ผลการทดลองใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบ การสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักร การเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) = 87.98/88.33
2) ผู้เรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = 4.70)
ขั้นตอนที่ 4 ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 Esกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักร การเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E1) เท่ากับ 85.70/84.94 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 โดยภาพรวมและเป็นรายเล่ม
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระประวัติศาสตร์ประกอบการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในระดับมาก ( = 4.13, S.D. = 2.91)
4) ข้อควรปรับปรุงแก้ไข มีอยู่ 2 ประเด็น ได้แก่ (1) เพิ่มสื่อให้หลากหลายมากขึ้น (2) ควรเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติจริงให้มากขึ้น