ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active
Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายสมชัย วรธงไชย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เน้นกระบวนการคิด โดยเฉพาะการส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี การปฏิบัติงานกิจกรรมที่ได้มาจากกระบวนการคิดของนักเรียน เพื่อให้ได้มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระหลัก ระบบสังคม หลักการตอบสนอง สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และเงื่อนไขในการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ปัญหาวิชาการ (Academic problems) ขั้นตอนที่ 2 ร่วมวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ (Join Creative criticism) ขั้นตอนที่ 3 ขยันแสวงหาความรู้ (Seek knowledge) ขั้นตอนที่ 4 มุ่งสู่ข้อสรุปและขยายความ (Conclusion and expansion) ขั้นตอนที่ 5 สร้างสื่อตามนำเสนอเทคโนโลยี (Media presentation technology) และขั้นตอนที่ 6 วิจารณญาณมีประเมินและประยุกต์ (A Critical Assessment and Application) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.83/84.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด