บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
เรื่อง : รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการบริหารงานเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ผู้รายงาน : นายพรหมลิขิต แก้วจันทร์
ปีที่ศึกษา : 2560
..................................................................................................................................
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการบริหารงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และส่วนขยายการประเมินผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานcโรงเรียนบ้านห้วยไคร้ จำนวนทั้งสิ้น 636 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 36 ชุด ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านผลกระทบ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 36 ชุด ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านประสิทธิผล แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 36 ชุด ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 36 ชุด ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 4 ระดับ สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 600 ชุด และฉบับที่ 6 แบบสอบถามด้านความยั่งยืน และการถ่ายทอดส่งต่อ โครงการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 36 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท ของโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลผลิต ในส่วนปรับขยาย 4 ด้าน ดังนี้
4.1 ด้านผลกระทบ
4.1.1 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ จำนวน 457 คน ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยมขึ้นไป จำนวน 394 คน คิดเป็นร้อยละ 86.21
4.1.2 ผลการประเมินโครงการด้านผลกระทบ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ด้านประสิทธิผล
ผลการประเมินประสิทธิผล ตามเป้าหมายคุณธรรม 5 ด้าน ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นด้านความมีวินัยอยู่ในระดับมากที่สุดสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความรับผิดชอบ การรักความเป็นไทยและท้องถิ่นแความมีจิตสาธารณะ และด้านการไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง และนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยมีความเห็นด้านการรักความเป็นไทยและท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุดสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความมีวินัย ความมีจิตสาธารณะ การไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด และด้านความรับผิดชอบ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ด้านความมีวินัย มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง และนักเรียนด้านความมีวินัย พบว่า มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความรับผิดชอบตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง และนักเรียนด้านความรับผิดชอบ พบว่า มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความมีจิตสาธารณะ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง และนักเรียน พบว่า มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านรักความเป็นไทยและท้องถิ่น ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ปกครองและนักเรียน มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับด้านการไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง และนักเรียนด้านการไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด พบว่า มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความพึงพอใจต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลการประเมินด้านความยั่งยืนของโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด