ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดช่องลม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
ชื่อผู้ประเมิน นายพูนศักดิ์ จินาเกตุ
ปีการศึกษา 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดช่องลม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการตลอดจนความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา รูปแบบที่ใช้ในการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ครั้งนี้คือ คณะคณะกรรมการสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ คณะคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 48 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 48 คน รวม 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 8 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือ (Validity) ใช้สูตร IOC หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการหาค่าความเชื่อมั่นแบบ Alpha Co-efficient ตามสูตรของครอนบัค Cronbach โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัดและภาพรวม สรุปดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องและความชัดเจนของวัตถุประสงค์ และความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
1.2 ความสอดคล้องและความชัดเจนของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
1.3 ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง มีผลการประเมิน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้
2.1 ความพร้อมด้านบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
2.2 ความพร้อมด้านงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
2.3 ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ความพร้อมด้านเครื่องมือ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
2.5 ความพร้อมด้านองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้
3.1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
3.3 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
3.4 การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
3.5 การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
3.6 การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
3.7 การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
3.8 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับ คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สถานศึกษากำหนด ตลอดจนความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้
4.1 คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
4.1.1 มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
4.1.1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
4.1.1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
4.1.1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
4.1.2 มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.1.2.1มาตรฐานที่ 1คุณภาพผู้เรียนพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4.1.2.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
4.1.2.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
4.3 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก