ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์โดยการประยุกต์ใช้
กระบวนการสอนแบบมิติคุณภาพ (3A) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
และนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ โรงเรียนอนุบาลลานสัก
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสุภัทรา ทวีสิทธิโชคชัย
สถานที่ทำงาน โรงเรียนอนุบาลลานสัก
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการสอนแบบ มิติคุณภาพ (3A) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ โรงเรียนอนุบาลลานสัก
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการสอนแบบมิติคุณภาพ(3A) เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 และนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ โรงเรียนอนุบาลลานสัก ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ โรงเรียนอนุบาลลานสัก ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ โรงเรียนอนุบาลลานสัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนอนุบาลลานสัก จำนวน 10 คน และนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ จำนวน 19 คน รวมนักเรียนทั้งหมดจำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการสอนแบบมิติคุณภาพ (3A) โดยใช้ในการจัดการเรียนการสอนในวิชาชุมนุมนาฏศิลป์ โรงเรียนอนุบาลลานสัก จำนวน 5 แผน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.65 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.30 0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ทั้งฉบับเท่ากับ 0.84
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ t test
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการสอนแบบมิติคุณภาพ(3A) เรื่อง นาฏศิลป์ไทย
สร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ (E1) และผลลัพธ์ (E2) โดยรวมเท่ากับ 81.79/80.96 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ทั้ง 5 แผนการจัดการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ โรงเรียนอนุบาลลานสัก อยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.73, S.D. = 0.48) และพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ