บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 43 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 แผน รวม 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวยแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.53 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.76 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc ) เท่ากับ 0.93 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.53 ถึง 0.68 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.69 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.92 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.49 ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรียกว่า MEEDEE MODEL มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.11/85.35
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 เท่ากับ 85.35/44.57 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7357 คิดเป็นร้อยละ 73.57 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าหลังเรียนกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบ การเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 85.12/48.37 แสดงว่าความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.49
โดยสรุป รูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน สมควรนำไปใช้เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจ สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีทักษะปฏิบัติในการทำงานและสามารถคิดแก้ปัญหาได้มากขึ้น จึงควรสนับสนุนให้ครูนำรูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มาพัฒนาในการเรียนการสอน รายวิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 รหัสวิชา ค30202 เพื่อให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเน้นทักษะปฏิบัติได้เป็นอย่างดี