บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการประเมินโครงการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดวิชิตธาราราม มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดวิชิตธาราราม 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานของโครงการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดวิชิตธาราราม 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดวิชิตธาราราม 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดวิชิตธาราราม กลุ่มเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ครู จำนวน 6 คน ผู้นิเทศ จำนวน 2 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 105 คนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ (%)
ผลการศึกษา
1.ผลการประเมินด้านบริบท พบว่าผลการดำเนินโครงการด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด (4.86) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ (4.79) ตัวชี้วัดความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายต้นสังกัด (4.89) และตัวชี้วัดความสอดคล้องของกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ (4.91)
2.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมากที่สุด (4.84) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง3 ตัวชี้วัดคือ บุคลากรในการดำเนินโครงการ (4.90) ตัวชี้วัดงบประมาณในการดำเนินโครงการ(4.88) และตัวชี้วัดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ (4.75)
3.ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่าผลการดำเนินโครงการด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด (4.71) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง3 ตัวชี้วัดโดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ การวางแผนของโครงการ (4.75) การจัดกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการ (4.70) และตัวชี้วัดด้านการประเมินผลโครงการและการปรับปรุง (4.67)
4.ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด (4.80) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ได้รับการพัฒนา 4 ด้าน (4.68) ตัวชี้วัดทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนา 3 ด้าน (4.89) ตัวชี้วัดความสำเร็จผลของการจัดกิจกรรมในโครงการ (4.73) ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของครู ผู้นิเทศและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (4.93) และตัวชี้วัดคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับ (4.75)