ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านรางจิก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2
ผู้ประเมิน นายอุปถัมภ์ ทองใบ
โรงเรียน โรงเรียนบ้านรางจิก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 2
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านรางจิก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินที่ช่วยในการตัดสินใจแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีมและคณะ (Stufflebeam, Daniel L. and Others) โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1) ประเมินบริบทโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 3) ประเมินกระบวนการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 4) ประเมินผลผลิตโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านรางจิก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กำหนดการประเมินเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการ ทำการประเมินบริบท (Content Evaluation) และปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ ทำการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) ระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ทำการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) กลุ่มเป้าหมายจำนวน 99 คน ประกอบด้วย บุคลากรภายในโรงเรียนจำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้แทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 42 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 คนและนักเรียน จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ 1) แบบประเมินบริบทโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2) แบบประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 3) แบบประเมินกระบวนการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 4) แบบประเมินผลผลิตโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ 4.1) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และ 4.2) แบบประเมินสุขภาพนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (µ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) เกณฑ์การประเมิน 1) แบบประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้าของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พิจารณาค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน 2) พิจารณาจากร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินสุขภาพเป็นปกติ ร้อยละ 90 ขึ้นไป
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินบริบทโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์
การประเมินที่กำหนดไว้และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าอยู่ในระดับมากโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ รองลงมา ได้แก่ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการและด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายและความต้องการของสถานศึกษา ซึ่งทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดเกณฑ์เอาไว้
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่าน
เกณฑ์การประเมินที่กำหนดเกณฑ์ไว้และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความพร้อมของบุคลากร รองลงมาได้แก่ด้านความพร้อมของงบประมาณ ด้านความพร้อมของอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมและ ด้านความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ เอกสารซึ่งทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ผลการประเมินกระบวนการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่าน
เกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านนโยบายของโรงเรียน รองลงมาได้แก่ ด้านโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน ด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
4.1 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้และเมื่อพิจารณาแต่ละข้อพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และ รองลงมาได้แก่ นักเรียนมีสุขภาวะสมบูรณ์ แข็งแรง และ การป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน
4.2 ผลการประเมินสุขภาพของนักเรียนพบว่านักเรียนที่มีผลการประเมินสุขภาพเป็นปกติคิดเป็นร้อยละ 93.45