ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
โรงเรียนบ้านบันนังปุเลา ปีการศึกษา 2561
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวชญารัศมิ์ ด้วงหวัง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบันนังปุเลา
ปีที่ประเมิน : 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านบันนัง ปุเลา ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังนี้
1. เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบันนังปุเลา ปีการศึกษา 2561
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด ของโรงเรียนบ้านบันนังปุเลา ปีการศึกษา 2561
3. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบันนังปุเลา ปีการศึกษา 2561
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบันนังปุเลา ปีการศึกษา 2561
ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด จำนวน 95 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง จำนวน 48 คน นักเรียน จำนวน 32 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ เพื่อสอบถามกลุ่มประชากรดังกล่าว โดยใช้กรอบการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สามารถสรุปผลการประเมิน ได้ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบท (Context) ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด รองลงมา บรรยากาศในโรงเรียนและสภาพชุมชนเอื้อต่อการดำเนินโครงการ และกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ดำเนินการตามโครงการเป็นกิจกรรมที่สร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและอบายมุข
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความร่วมมือของบุคลากรในการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข รองลงมา ความพร้อมของครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และความพร้อมในการบริหารจัดการของโรงเรียนเอื้อต่อการดำเนินโครงการ ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ กำหนดการจัดกิจกรรมในโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รองลงมา โรงเรียนมีการประชุม ปรึกษาหารือแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบงานอย่างชัดเจน และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานตามโครงการ ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมวันสำคัญต่อต้านยาเสพติด ทำให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด รองลงมานักเรียนมีส่วนร่วมในการเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด และโรงเรียนมีสถานที่สำหรับให้นักเรียนเล่นกีฬา ตามลำดับ