เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย อารีย์ แสงแก้ว
ปีการศึกษา2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์2) ) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2561โรงเรียนบ้านท่าแค (วันครู 2500) องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงจำนวน 30คนซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20แผน ๆ ละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20ชั่วโมงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อแบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหาจำนวน 30 ข้อ แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-testdependent samples)
ผลการวิจัย
1.รูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีชื่อว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้AEIUE Modelประกอบด้วย5ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ตระหนักรู้สู่ปัญหา (Awareness) ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นพบ ขั้นที่ 3 อธิบายได้คำตอบ ขั้นที่ 4 นำไปใช้ (Utilization) สถานการณ์ให้นักเรียนนำข้อความรู้ไปสร้างสรรค์เป็นชิ้นงาน หรือนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ขั้นที่ 5 ประเมินผล(Evaluation) มีความเหมาะสมมากที่สุดทุกด้านโดยทุกด้านมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมระหว่าง 4.63 - 5.00
2.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.จิตวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องวัสดุรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด