ชื่อเรื่อง การสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางพรกมล พานิชกรณ์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ
โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง) สังกัดเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องมีความสมดุลระหว่างด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นสื่อ
การเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา และสามารถเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆได้ การบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้นักเรียน มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ได้แก่การทำงานอย่างมีระบบ มีระเบียบ มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่าง
เหมาะสม พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
ผู้ศึกษาจึงสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างและพัฒนาขึ้น 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างและพัฒนาขึ้น 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง) จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษา 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและ
การบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 เงินไทย เรื่องที่ 2 การแลกเงิน เรื่องที่ 3 การเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุดและการอ่าน เรื่องที่ 4 บาทกับสตางค์ เรื่องที่ 5 เถ้าแก่น้อย เรื่องที่ 6 การบวกลบจำนวนเงิน เรื่องที่ 7 ออมไว้ไม่ขัดสน เรื่องที่ 8 การบันทึกรายรับรายจ่าย เรื่องที่ 9 ชีวิตที่พอเพียง 2) คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน เวลา 14 ชั่วโมง
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและ
การบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 87.29/86.54
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7463
4. นักเรียนมีความพึงพอใจที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นสื่อในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้