ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด พื้นที่ผิวและปริมาตร ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุปราณีต ปานมา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่ศึกษา 2561
หน่วยงาน โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร อำเภอชะอวด จังหวัดนครศีธรรมราช
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
บทคัดย่อ
ผลการใช้รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด พื้นที่ผิวและปริมาตร ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด พื้นที่ผิวและปริมาตร ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ STAD เทียบกับเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด พื้นที่ผิวและปริมาตร ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด พื้นที่ผิวและปริมาตร ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร จำนวน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด พื้นที่ผิวและปริมาตร ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ STAD จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ลักษณะแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 35 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test Dependent การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษาครั้งนี้ปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด พื้นที่ผิวและปริมาตร ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ STAD มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.82/80.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดพื้นที่ผิวและปริมาตร ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ STAD มีค่าดัชนีประสิทธิผลที่ 0.62
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด พื้นที่ผิวและปริมาตร ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.08, S.D=0.42)