ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นายเทวนาถ เติมวุฒ
โรงเรียนชีลองวิทยา อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการเล่นกีฬามวยปล้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะการเล่นกีฬามวยปล้ำหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับเกณฑ์ที่กำหนด 4) เปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้เรื่องกีฬามวยปล้ำก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเล่นกีฬามวยปล้ำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำรูปแบบของการศึกษาเป็นรูปแบบกลุ่มที่มีการทดสอบก่อนและทดสอบหลังการทดลอง (One group pre test-post test design) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชีลองวิทยา อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 23 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งหมด 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ จำนวน 16 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง ไม่รวมแผนปฐมนิเทศ การทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะกีฬามวยปล้ำ จำนวน 3 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการเคลื่อนไหวเบื้องต้น ทักษะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และทักษะการทำให้ คู่ต่อสู้ล้ม แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียน เรื่อง กีฬามวยปล้ำ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ จำนวน 20 ข้อ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ การประเมินทักษะปฏิบัติก่อนและหลังเรียน การทดสอบวัดความรู้ ก่อนและหลังเรียน และการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 89.88/83.99 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ มีคะแนนประเมินทักษะกีฬามวยปล้ำหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ มีคะแนนประเมินทักษะกีฬามวยปล้ำหลังเรียนเฉลี่ยรวมร้อยละ 84.18 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬามวยปล้ำ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51 , S.D. = 0.57) และพึงพอใจในระดับมากขึ้นไปทุกข้อ