ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางมาลิสา ประทีปแก้ว
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยจับสลากห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม แบบแผนการวิจัยเป็นแบบกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียววัด ก่อน หลัง การทดลอง (One Group - Pretest – Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 ชั่วโมง แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 83.00/82.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียนหลังการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก