ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางนวลฉวี เชิดฉิน
ปีที่ทำวิจัย 2561
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดเชื่อมโยง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบสัมภาษณ์
2. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
3. เพื่อทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
4. เพื่อประเมินรูปแบบ ด้วยการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดเชื่อมโยง พบว่า
1.1 เรื่องที่จะนำมาพัฒนารูปแบบคือ เรื่อง สถิติ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค21102 มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ
1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ครูควรพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ให้น่าสนใจ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ต้องเน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการในการแก้ปัญหามากกว่าการหาคำตอบของปัญหา
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านหลักการ 2) ด้านวัตถุประสงค์ 3) ด้านกระบวนการ (มี 5 ขั้นคือ ขั้นเตรียมการเรียนรู้ (Preparing : P) ขั้นเรียนรู้เนื้อหาใหม่ (Learning : L) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ (Associating : A) ขั้นสรุปความรู้ (Concluding : C) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluting : E)) 4) ด้านหลักการตอบสนอง 5) ด้านระบบสังคม และ 6) ด้านระบบสนับสนุน
2.2 ความถูกต้องและความเหมาะสมของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ความถูกต้องและความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ประสิทธิภาพจากการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่า 75.43/75.11 เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 78.53/78.11 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน
เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันที่เรียน
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์
กับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก