ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษาค้นคว้า นายเกียรติศักดิ์ วันล้วน
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3. เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลัง
เรียนด้วยชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 8 แผน โดยใช้เวลาสอนแผนละ 120 นาที ชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพจำนวน 8 ชุด แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนเป็นแบบมาตรา 5 ระดับ 1 ฉบับ จำนวน 10 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มี ซึ่งมีค่า อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.71 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
1. ชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.93/88.33
2. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาด้วยชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7268 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.68
3. การเปรียบเทียบผลการใช้ชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชา
การงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
ชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชา
การงานอาชีพ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
จะมีประสิทธิภาพเหมาะสมทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการเรียน นักเรียนมีโอกาสพัฒนาตามกระบวนการคิดวิเคราะห์ สามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
ประกาศคุณูปการ
รายงานการพัฒนาชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ งานช่างไฟฟ้า รายวิชาการงานอาชีพ สาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้สำเร็จสมบูรณ์ได้
ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจาก นายธงชัย เหมเกียรติกุล ผู้อำนวยการโรงเรียน
ร่มโพธิ์วิทยาและที่ปรึกษาในการทำวิจัยที่กรุณาให้คำปรึกษาคำแนะนำและข้อคิดเห็นตลอดจน แก้ไข
ข้อบกพร่องต่าง ๆ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ขอขอบพระคุณนางสาวศันธณีย์ โคตรวงศ์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 นายถาวร วังสำเภาตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ว่าที่ร้อยโทพิทักษ์ชัย จักรบุตร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนศรีแก้วพิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และ นางสาวฐศินากานต์ แพงมา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนิคม 3 (กรมประชาสงเคราะห์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ที่ได้กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความถูกต้องตรวจสอบ แก้ไขและปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ขอขอบพระคุณคณะครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ในการทดลองใช้เครื่องมือและ
เก็บรวบรวมข้อมูล
เกียรติศักดิ์ วันล้วน