ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลลำดวน
(สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์)
ชื่อผู้วิจัย นายสามารถ ชื่นใจ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์) อำเภอลำดวน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์) เครือข่ายบริหารการศึกษาลำดวน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 23 คน โดยการวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย เป็นเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 16 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ที่ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.02/84.06 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ซึ่งหมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์) มีประสิทธิภาพยอมรับได้ และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์) ที่เรียนแบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์) ที่เรียนแบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.60
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเรียนรู้ เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนได้