ชื่อเรื่อง : การประเมินผลโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง
ปีการศึกษา 2561
ผู้ประเมิน : นายวิชาญ ลือเฟื่อง
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งฝาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ คือ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องด้านบริบท (Context) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561
2) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 4.1) เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 กิจกรรม ประกอบด้วยการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อนักเรียน 4.2) เกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ครูนำไปปฏิบัติ 4.3) เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประชากร ที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 51 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 51 คน ระยะเวลาในการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2561 โดยเริ่มจากวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2561 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (  )
ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินผลโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP Model ของ สตัฟเฟิลบีม
1. การประเมินความสอดคล้องด้านบริบท (Context) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินผลผลิต (Product)
4.1 การประเมินผลผลิต (Product) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 กิจกรรม คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อนักเรียน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 การประเมินผลผลิต (Product) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ครูนำไปปฏิบัติ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 การประเมินผลผลิต (Product) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุป จากผลการประเมินผลโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งฝาง ปีการศึกษา 2561 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP Model ของ สตัฟเฟิลบีม ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) ด้านผลผลิต (Product) ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนั้นการดำเนินโครงการจึงบรรลุตามจุดมุ่งหมายของโครงการที่ตั้งไว้