บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 15 (บ้านม่วงเฒ่า) อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ห้อง 5/1 จำนวน 32 คน ห้อง 5/2 จำนวน 28 คน และห้อง 5/3 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 ชุด และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจหลังได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 ข้อ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนห้อง 5/1 มีประสิทธิภาพ 84.36/83.28นักเรียนห้อง 5/2 มีประสิทธิภาพ 84.06/82.68 และนักเรียนห้อง 5/3 มีประสิทธิภาพ 84.48/82.32
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 3 ห้อง มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริม
ทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนห้อง 5/1 เท่ากับ 0.7966 แสดงว่ามีผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7966 หรือคิดเป็นร้อยละ 79.66 นักเรียนห้อง 5/2 เท่ากับ 0.7870 แสดงว่ามีผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7870 หรือคิดเป็นร้อยละ 78.70 นักเรียนห้อง 5/3 เท่ากับ 0.7892 แสดงว่ามีผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7892 หรือคิดเป็นร้อยละ 78.92
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรม
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7ขั้น (7E) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนห้อง 5/1 มีค่าเฉลี่ย = 4.24, S.D. = 0.56 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนห้อง 5/2 มีค่าเฉลี่ย = 4.13, S.D. = 0.73 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และนักเรียนห้อง 5/3 มีค่าเฉลี่ย = 4.14, S.D. = 0.72 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก