เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นางปราณี คำภิระ
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐานความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานคือ การศึกษานโยบาย จุดหมายการจัดการศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาจากรายงานผลการประเมินการจัดการศึกษาของสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ด้านคุณภาพผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ของครู การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคมจำนวน 33 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5) แบบวัดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ 4) แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า PLLARS Modelโดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ PLLARS Model มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ภาคสนาม กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 85.44/84.25 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สอนโดยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. จิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่น ภาพรวม พบว่า นักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับ มาก
4. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนมีความคิดเห็นด้านประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมาก เพราะผู้เรียนสามารถกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นได้ นำการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นของนักเรียน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปช่วยส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และสามารถวิเคราะห์ปัญหา/สาเหตุของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นได้