บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การดำเนินชีวิต ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระตามหลักสูตรควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 (ไสว ฟักขาว, มปป.: 1) ซึ่งการศึกษายังคงเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์และการพัฒนาประเทศที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกให้สามารถดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างยั่งยืน (สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน, 2557: 6)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาอังกฤษเขามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษยมากขึ้น ตัวอย่างจากเครื่องใช อุปโภค บริโภคต่าง ๆ เชน อุปกรณไฟฟาทุกชนิด เครื่องสําอาง ยา เปนสินคาที่นำเขาจากต่างประเทศทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าขอแนะนำการใชอุปกรณและผลิตภัณฑดังกลาวลวนเปนภาษาอังกฤษ ประกอบกับประเทศไทยเปนประเทศที่เปดเสรีทางดานการคา มีชาวตางประเทศเขามาลงทุน การที่ประชากรในประเทศมีความรู ความสามารถดานภาษาอังกฤษ สามารถใชภาษาอังกฤษในการติดตอ สื่อสารเกี่ยวกับการศึกษา การแสวงหาขอมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อใหสามารถนำประเทศไปสู่การแขงขันดานเศรษฐกิจ เขาใจความแตกตางทางการเมือง และวัฒนธรรมในฐานะที่เปน
พลเมืองยุคโลกาภิวัฒน ดังนั้นการเรียนรู ทักษะการฟง พูด อานและเขียนภาษาอังกฤษ จะชวยให้นักเรียนมีวิสัยทัศนกวางไกล สามารถใชภาษาอังกฤษสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้อย่างถูกตอง เหมาะสมและมั่นใจ พรอมทั้งสามารถถายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามของคนไทยและเอกลักษณไทยไปสูสังคมโลกไดอยางภาคภูมิใจ (ดําริ บุญชู, 2546: 19 อ้างถึงจาก ณัฐธิดา รัตนสุภา, 2551: 1)
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ สำคัญ คือ ความสามารถในการสื่อสารซึ่งเป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และประสบการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 4) โดยกำหนดให้ภาษาอังกฤษอยู่ในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย 4 สาระ ได้แก่ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ภาษาและวัฒนธรรม ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก ซึ่งการเรียนภาษาต่างประเทศจะแตกต่างจากการเรียนสาระการเรียนรู้อื่น เนื่องจากผู้เรียนไม่ได้เรียนภาษาเพื่อความรู้เกี่ยวกับภาษาเท่านั้น แต่เรียนภาษาเพื่อให้สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามความต้องการในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพ
จากการจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง ในปีการศึกษา 2559 และ 2560 พบว่า มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.92 และ 71.15 ตามลำดับ ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายตามแผนพัฒนาภาษาอังกฤษของโรงเรียนที่กำหนดไว้ ร้อยละ 75 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดจะเห็นได้ว่า มาตรฐาน 1.1 ตัวชี้วัด ป 3/4 บอกใจความสำคัญ และตอบคำถามจากการฟังและอ่านบทสนทนา และนิทานง่ายๆ หรือ เรื่องสั้นๆ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุด ซึ่งอาจเป็นผลเนื่องมาจาก นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการอ่านนอกเวลาเรียนน้อยมาก ผู้ปกครองไม่สามารถช่วยแนะนำเพิ่มเติมให้ได้เพราะส่วนใหญ่ทำงานรับจ้างและค้าขาย อีกทั้งห้องสมุดของโรงเรียนมีหนังสือส่งเสริมการอ่านที่เป็นภาษาอังกฤษน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทักษะการอ่านซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอีกด้วย
ผู้รายงานจึงค้นคว้าศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า พัชรี ตองตาสี และคณะ (2559: 133) ได้ศึกษาการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง Welcome to the Wonderful Land of Nongkhai โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 29 คน พบว่า ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง Welcome to the Wonderful Land of Nongkhai โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ อุไรวรรณ อนุรักษ์ (2560: ออนไลน์) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด Hello Nakhon Si Thammarat เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราชซึ่งการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด Hello Nakhon Si Thammarat เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด Hello Nakhon Si Thammarat กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับที่ เอื้อสุภา ส่องสว่าง (2551: 14) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก ช่วยฝึกทักษะและพัฒนาการอ่าน
ดังนั้น ผู้รายงานซึ่งเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
จึงสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดตรังซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและเหมาะสมกับวัยของนักเรียน เพื่อจะช่วยให้มีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักแก่นักเรียนให้รักและหวงแหนท้องถิ่นของตน ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
วัตถุประสงค์การศึกษา
การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. ศึกษาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80
2. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
สมมุติฐานการศึกษา
การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีสมมติฐานการศึกษา ดังนี้
1. หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
อยู่ในระดับมาก
ขอบเขตของการศึกษา
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 65 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายเป็นการเลือกแบบเจาะจง จำนวน...33...คน
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
2.2.1 ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.2.2 คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ใช้เวลา 22 ชั่วโมง (รวมการทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียน) ครั้งละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 17 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 21 เดือนกันยายน พ.ศ. 2561
4. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
4.1 หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม
4.2 แบบทดสอบ เรื่อง Trang Story ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ
4.3 แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
จำนวน 10 ข้อ
5. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ตามสาระการเรียนรู้ มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ประกอบด้วย
เล่มที่ 1 Trang Story
เล่มที่ 2 Trang Morning
เล่มที่ 3 Trang Menu
เล่มที่ 4 Trang Tour
เล่มที่ 5 Trang Andaman Gateway
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. หนังสือส่งเสริมการอ่าน หมายถึง หนังสือที่เขียนและเรียบเรียงเนื้อหาประกอบภาพเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน
2. หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง หมายถึง หนังสือที่เขียนและเรียบเรียงเนื้อหาประกอบภาพเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 Trang Story เล่มที่ 2 Trang Morning เล่มที่ 3 Trang Menu เล่มที่ 4 Trang Tour และเล่มที่ 5 Trang Andaman Gateway ซึ่งในแต่ละเล่มหนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน คำศัพท์ใหม่ เนื้อเรื่อง ใบความรู้ แบบฝึกหัด เฉลยแบบฝึกหัด แบบทดสอบหลังเรียน และแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่ได้จากทักษะ ความรู้ มวลประสบการณ์โดยใช้แบบทดสอบ
4. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในที่นี้เป็นความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง โดยวัดจากแบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประมาณค่า 5 อันดับ ได้แก่
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
5. ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน หมายถึง คุณภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านเมื่อนำไปใช้แล้วทำให้นักเรียนบรรลุตามที่กำหนดไว้ ตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งมีความหมายดังนี้
80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยที่คิดเป็นร้อยละของคะแนนที่ได้จากการทำ
แบบทดสอบท้ายบทเรียนของนักเรียนทั้งหมด ที่ได้จากระหว่างเรียนของแต่ละเล่มของหนังสือส่งเสริมการอ่าน คิดเป็นร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด
80 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยที่คิดเป็นร้อยละของคะแนนที่ได้จากการทำ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งหมด ได้ถูกต้องร้อยละ 80
6. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ข้อสอบที่ใช้วัดผลการเรียนรู้
ของนักเรียน เรื่อง Trang Story กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองตรัง ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพิ่มขึ้น
3. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนในการผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหา
วิจัยชั้นเรียน สำหรับนักเรียนชั้นอื่น ๆ หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น