บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรม 10 ประการ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพของชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ 3) เพื่อหาค่าดัชนี
xระสิทธิผลของชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) ชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ จำนวน 10 ชุด รวม 48 เรื่อง ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.40
2) แผน การจัดประสบการณ์ชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ จำนวน 48 แผน ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.50 3) แบบสังเกตพฤติกรรมสำหรับการการจัดประสบการณ์ด้วยชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ จำนวน 1 ฉบับ 10 ด้าน ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.30 4) แบบประเมินผลก่อน/หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ จำนวน 10 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .20-.80 ค่าความยากง่ายเท่ากับ .21-.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดย ใช้ชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ จำนวน 5 ข้อ กำหนดเอาค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .20-.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8774 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design คือ ประเมินผลก่อนจัดประสบการณ์ (Pre-test) จัดประสบการณ์ด้วยชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ (Treatment) ทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังจัดประสบการณ์ (Post-test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ประสิทธิภาพชุดนิทานใช้สถิติ (E1,E2 ) วิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) ของแบบประเมินผลสัมฤทธิ์หลังจัดประสบการณ์ ตามวิธีของแบรนแนน (Brennan) วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น (rcc) ของแบบประเมินผลสัมฤทธิ์หลังจัดประสบการณ์ ตามวิธีของโลเวท (Lovett) ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ ttest วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ใช้ The Effectiveness Index และใช้สถิติพื้นฐานหาค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย ((X-bar ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษา ปรากฏว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดนิทานส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 เท่ากับ 83.33/82.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. การประเมินผลก่อน/หลังการจัดประสบการณ์ ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 และ 8.35 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อน/หลังการจัดประสบการณ์ พบว่า ผลการประเมินหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานทีตั้งไว้
3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 มีค่าเท่ากับ 0.7537 แสดงว่าชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ชุดนี้ ทำให้เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 75.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้
4. เด็กปฐมวัย ชั้นนุบาล 3 ทั้งสิ้นจำนวน 20 คน ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์ โดยใช้ชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 10 ประการ จำนวน 20 คน จำแนกเป็นเด็กปฐมวัยชาย จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 35 เด็กปฐมวัยหญิง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 65 โดยรวมเด็กปฐมวัยทั้งชายและหญิงมีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้ ชุดนิทานเพื่อส่งเสริมคุฯธรรมพื้นฐาน 10 ประการ อยู่ในระดับมาก ((X-bar =3.68) โดยเด็กปฐมวัยชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X-bar =3.54 และ (X-bar3.83) ตามลำดับ