ชื่อโครงการ การประเมินโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้
โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2561
ผู้ประเมิน นางทองมัน สิทธิกัน
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินการปฏิบัติงานด้านกระบวนการ PDCA ของโครงการ (Process Ealuation) 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation)
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2561 จำนวน 222 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครูผู้สอน จำนวน 52 คน นักเรียนจำนวน 152 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 222 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด คือ ชุดของผู้บริหาร, ชุดของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, ชุดของครูผู้สอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 ,.95 และ.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
การดำเนินงานโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก)
ด้านบริบท ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษามีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดส่วนด้านอื่นๆมีความเหมาะสมในระดับมากทุกด้าน ในส่วนของครูผู้สอนมีความเห็นว่า ด้านผลผลิตมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนด้านอื่นๆมีความเหมาะสมในระดับมากทุกด้าน เมื่อวิเคราะห์ในระดับลึก พบว่า
การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) การประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่าผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเห็นว่า วัตถุประสงค์โครงการมีความชัดเจน มีความเหมาะสม และโครงการสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของเทศบาลนครยะลา อีกทั้งคณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเห็นว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง สอดคล้องกับนโยบายของเทศบาล นโยบายของสำนักการศึกษา ความสอดคล้องโครงการ สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของเทศบาลนครยะลา ในส่วนครูผู้สอนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีความเห็นว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักการศึกษา
การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่าผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านบุคลากร พบว่า ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม สำหรับด้านงบประมาณ
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คืองบประมาณมีการนำมาใช้ทันเวลา ด้านการบริหารจัดการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารให้การสนับสนุนโครงการอย่างเหมาะสม ในส่วนคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านบุคลากร พบว่า รายการที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ บุคลากรมีความเข้าใจตรงตามลักษณะโครงการที่ได้รับมอบหมาย ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะทำงานมีความพร้อมและมีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการโครงการ และผู้บริหารมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม สำหรับด้านงบประมาณ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ งบประมาณมีการนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ มีการนำมาใช้ทันเวลา เกี่ยวกับด้านวัสดุอุปกรณ์
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ สถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจกรรมมีความพอเพียง และด้านการบริหารจัดการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารให้การสนับสนุนโครงการอย่างเหมาะสม ในส่วนของครูผู้สอน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านบุคลากร พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ บุคลากรมีความกระตือรือร้นและมีเจตคติที่ดีต่อการดำเนินงานของโครงการ สำหรับด้านงบประมาณ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ อัตราค่าตอบแทนวิทยากรในการปฏิบัติหน้าที่มีความเหมาะสม เกี่ยวกับด้านวัสดุอุปกรณ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ วัสดุ อุปกรณ์ เอกสารต่างๆ ตลอดจนสื่อการเรียนรู้ ป้ายนิเทศเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเพียงพอ ในส่วนด้านการบริหารจัดการ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ระยะเวลาในการดำเนินการมีความเหมาะสม และระยะเวลามีความเพียงพอในการดำเนินงาน ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ การจัดกิจกรรมมีความหลากหลาย
การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านการเตรียมการดำเนินงาน พบว่า ผู้บริหารมีความคิดเห็นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ด้านการปฏิบัติงานตามแผน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการอย่างชัดเจน ส่วนด้านการประเมินผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรมโครงการเสร็จ และด้านการสรุป รายงานผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการสรุปผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม ในส่วนของคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านการเตรียมการดำเนินงาน พบว่า มีความคิดเห็นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้สนับสนุนโครงการมีส่วนร่วมในการวางแผน ด้านการปฏิบัติงานตามแผน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการอย่างชัดเจน ส่วนด้านการประเมินผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรมโครงการเสร็จสิ้น มีการประเมินผลก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ มีการประเมินผลระหว่างดำเนินกิจกรรมโครงการ และด้านการสรุป รายงานผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ มีการสรุปผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม ในส่วนของครูผู้สอนมีความคิดเห็นการปฏิบัติด้านกระบวนการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านการเตรียมการดำเนินงาน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการสำรวจความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนการวางแผนกิจกรรมโครงการ มีการกำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมโครงการไว้อย่างชัดเจนก่อนการนำไปปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับด้านการปฏิบัติงานตามแผน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมทั่วถึง และรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และมีการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการอย่างชัดเจน ในด้านการประเมินผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีเครื่องมือการประเมินผลที่เหมาะสมกับกิจกรรม และรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด ได้แก่ มีการประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรมโครงการเสร็จสิ้น ส่วนด้านการสรุป รายงานผล รายการที่มีความคิดเห็นมากที่สุดที่สุด คือ มีการสรุปผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม
การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ผลการประเมินความพึงพอใจ ด้านผลผลิตของโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอน
มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความหลากหลายของกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนรู้ ที่โรงเรียนจัดขึ้น และความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ผู้บริหาร/หัวหน้าโครงการ มีการให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ
ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ร้อยละ 98.08 เข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนจัดขึ้น ซึ่งผลการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีจำนวนครูผู้สอนเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ร้อยละ 100 ได้ผลการประเมิน ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป ดังนั้น ผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนมากกว่าร้อยละ 80 ได้ผลการประเมินผ่านระดับดีขึ้นไป ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2561 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สูงกว่าปีการศึกษา 2560 ดังนั้น ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2560 สูงกว่าปี 2561 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายู
บางกอก) ต่อไปทุกๆ ปี แล้วนำผลการประเมินมาเปรียบเทียบความสำเร็จในการดำเนินงานของแต่
ละปี เพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุง/พัฒนาให้โครงการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานโครงการ
3. ควรใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเพิ่มแบบสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในการนำไปพัฒนาการดำเนินโครงการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป
4. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการประเมินโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ภายในกลุ่มโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครยะลา