ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ KANTANGPIT
MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559 2560
ชื่อผู้วิจัย : นางยุภา พรเศรษฐ์
ปีการศึกษา : 2559 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากรปีการศึกษา 2559 2560 มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโรงเรียนกันตังพิทยากรโดยใช้ KANTANGPIT MODEL ปีการศึกษา 2559-2560 2)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากรปีการศึกษา 2559-2560 3)เพื่อศึกษาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากรปีการศึกษา 2559-2560 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 5) เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ประชากรครู ปีการศึกษา 2559 จำนวน 70 คน และปีการศึกษา 2560 จำนวน 73 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 313 คน และปีการศึกษา 2560 จำนวน 310 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองปีการศึกษา 2559 จำนวน 313 คน และปีการศึกษา 2560 จำนวน 310 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชุนปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.96-0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Window
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ตามความคิดเห็นของครูและนักเรียน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ตามความคิดเห็นของ ครู ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560ตามความคิดเห็นของ ผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทั้งสองกลุ่ม
ที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
4) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2559-2560 ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทุกกลุ่มการประเมินมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทุกกลุ่มการประเมินมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
5) ผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ส่งผลให้โรงเรียนกันตังพิทยากร ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากองค์กร และหน่วยงานทางการศึกษา ระดับชาติ 18 รางวัล และระดับเขตพื้นที่การศึกษา 1 รางวัล ผู้อำนวยการได้รับรางวัลระดับประเทศ 3 รางวัล นักเรียนได้รับรางวัลระดับประเทศ 2 รางวัล ระดับภาค 34 รางวัล ระดับจังหวัด 4 รางวัล โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ ของหน่วยงานทางการศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ครั้งนี้ทำให้ค้นพบจุดเด่นคือ จุดเด่นด้านองค์ความรู้และจุดเด่นด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนต่อไป
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้
1.1 ด้านองค์ความรู้ สถานศึกษาควรให้ความรู้ทำและทำความเข้าใจกับครู นักเรียน ผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ถึงพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ KANTANGPIT MODEL โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ตลอดจนความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความเป็นเป็นพลเมือง อีกทั้งบทบาทและภาระของทุกภาคส่วนที่จะต้อง มีส่วนร่วมอันได้แก่ ผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเข้ามาสนับสนุนในด้านการเลี้ยงดูบุตรหลานแบบประชาธิปไตย สนับสนุนกิจกรรมการปฏิบัติงาน ปฏิบัติตนของนักเรียนที่แสดงออกถึงความเป็นพลเมืองดีตามจุดเน้นความเป็นไทย ความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความปรองดอง สมานฉันท์ และความมีวินัยในตนเองสนับสนุนการพัฒนาสื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนทั้งภายนอกและภายในอาคารเรียน ภายในห้องเรียน สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อม
1.2 ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีในส่วนของครูจะต้องเป็นครูต้นแบบเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนทั้งด้านการวางตนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยบูรณาการการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้และการปฏิบัติตนจริงในชุมชนและประเมินผลตามสภาพจริง เพื่อให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม
ผู้บริหารจะต้องสนับสนุนส่งเสริมในการพัฒนาสื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนทั้งภายนอกและภายในอาคารเรียน ภายในห้องเรียน สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนเช่นกิจกรรมสภานักเรียน นักเรียนต้นแบบ และแสวงหาความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆที่จะมาสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนซึ่งตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะต้องนำผลการวิจัยมาใช้เป็นฐานในการพัฒนา
1.3 หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรม/คุณลักษณะความมีคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืนหรือความคงทนถาวรของความมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนและ ทบทวนกิจกรรมต่างๆเพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของโรงเรียน เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย เอกลักษณ์ของโรงเรียน อัตลักษณ์ของผู้เรียน การเปลี่ยนแปลงของครู การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายแห่งรัฐ อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามอย่างยั่งยืน
2.2 ควรพัฒนารูปแบบหรือกลยุทธ์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามในลักษณะอื่น