เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนา
การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน โสภา มูลชัยสุข
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแหลมใต้ (สุตสุนทร) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมือง
ฉะเชิงเทรา อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
ปีที่วิจัย 2559 - 2561
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบแผนการวิจัย (One Group Pre-Test Post test Design) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2 ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ระยะที่ 3
ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระยะที่ 4 ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแหลมใต้ (สุตสุนทร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และแบบสอบถามความ
พึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลการวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์
1.1 ผลการศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง การจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา มุ่งพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลส่งเสริมทักษะกระบวนการและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ออกแบบการสอนให้มีระบบ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดโดยเฉพาะการคิดวิเคราะห์ ผู้เรียนต้องมีความสุขและมีความพึงพอใจในการเรียน
1.2 ผลการศึกษารูปแบบการสอน รูปแบบการสอนที่นักเรียนต้องการคือ รูปแบบการสอนที่มีการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างแรงจูงใจและให้รางวัลแก่ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนใช้รูปแบบการสอนที่ให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และรูปแบบการสอนที่คำถึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ผลการวิจัยระยะที่ 2 ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์
2.1 รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ คือ หลักการ สาระการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อและแหล่งเรียนรู้ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ดังนี้
ขั้นที่ 1 STAD: S จัดนักเรียนตามกลุ่มเทคนิคผลสัมฤทธิ์ (Students Teams
Achievement Division, STAD) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีสมาชิกกลุ่มละ 4-6 คน โดยคละทั้งความสามมารถและทางการเรียนและเพศจัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 4 คนหรือ 5 คน แต่ ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนเก่ง ปานกลาง และนักเรียนอ่อน
ขั้นที่ 2 Orientation: O ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนด้วย เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้
ใหม่ / กระตุ้นความสนใจ
ขั้นที่ 3 Practice: P ขั้นปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDLเพื่อสรุป
ความคิดรวบยอดตามใบความรู้ดังนี้ 1) K = เรารู้อะไรจากโจทย์ 2) W =โจทย์ให้หาอะไร มี
วิธีการอย่างไร 3) D = ดำเนินการแก้โจทย์ปัญหา 4) L = คำตอบที่ได้ / สรุปขั้นตอน
ขั้นที่ 4 Assessing: A ขั้นประเมินผลทดสอบ/ให้รางวัล 1) แบบฝึกทักษะ
2) แบบทดสอบ ย่อยเพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจและทักษะการคิด 3) แบบทดสอบหลังเรียน
2.2 รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 กับกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 81.04 / 82.68
ผลการวิจัยระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนรู้จากรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าร้อยละ 75
3.3 คะแนนความรู้ ความสามารถ ด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ที่เรียนรู้จาก
รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4 คะแนนความรู้ ความสามารถ ด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียน ที่เรียน
ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่า ร้อยละ 75
ผลการวิจัยระยะที่ 4 ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
4.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ SOPA Model เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.22
4.2 ข้อควรปรับปรุงของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ให้มีความเหมาะสมเพื่อ
นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งต่อไป ในเรื่องปรับระยะเวลาและปรับกิจกรรมบาง
แผนการจัดการเรียนรู้ ปรับความความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียน โดยครูควรประเมินทักษะ/
กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์บ่อยครั้งขึ้น รวมทั้งครูต้องคอยดูแลเอาใจใส่ คอย
ชี้แนะนักเรียนอย่างใกล้ชิด