ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากล
พาเพลิน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ผู้รายงาน นายจักรพันธ์ กันธวัง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
สังกัด โรงเรียนนาทรายวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
ปีที่ดำเนินการ 25๖๑
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๑ เป็นการศึกษาหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เชิงเหตุผล (Rational Approach) โดยใช้หลักของความรู้และเหตุผลในการตัดสินคุณค่าของนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ การศึกษาประสิทธิภาพของสื่อ/นวัตกรรมชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ฯ เชิงประจักษ์ (Empirical Approach) หรือการวิเคราะห์คะแนนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (E1/E2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าที (T test = Dependent Samples) การหาค่าดัชนีประสิทธิผลของ การใช้สื่อ/นวัตกรรมชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ฯ (E.I.) และการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามชุดกิจกรรมการเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา 25๖๑ จำนวนนักเรียน ๑๗ คน จากจำนวน ๒ ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนในแต่ละห้องมีความรู้ ความสามารถ และคะแนนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะใกล้เคียงกัน
คณะผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการหาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีสากล จำนวน 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน การวัดผลประเมินผล และ เทคโนโลยีทางการศึกษา จำนวน 2 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 2 ประเภท คือ
1. เครื่องมือที่เป็นแบบประเมิน ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน เชิงเหตุผล (Rational Approach) จำนวน 50 ข้อ โดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามชุดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 25 ข้อ
2. เครื่องมือที่เป็นสื่อ/นวัตกรรม ประกอบไปด้วย
2.1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน โดยใช้
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้
2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๓0 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการประมวลผลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window (statistical package for the social sciences for Window) โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความเชื่อมั่น (IOC) T test (Dependent Samples) และการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับแบบ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson-21 = KD-21) และแบบ ครอนบัด (Cronbach) วัดจากการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (α Coefficient)
ผลการดำเนินการ
๑. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อ/นวัตกรรม ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน เชิงเหตุผล (Rational Approach) โดยใช้หลักของความรู้และเหตุผล โดยผู้เชี่ยวชาญ
พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากล พาเพลิน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.6733, S.D. = 0.1270) โดยเห็นว่า ด้านรูปเล่ม เหมาะสมมากที่สุด ( = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมา ด้านเนื้อหา ( = 4.9091, S.D. = 0.1050) และ ความถูกต้องตามหลักวิชาการ ( = 4.5667, S.D. = 0.1540)
๒. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อ/นวัตกรรมเชิงประจักษ์ (Empirical Approach) หรือการวิเคราะห์คะแนน
พบว่า คะแนนของผู้เรียนจากระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔๒๐ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๑๙.๐๖ คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๗๐ ของคะแนนเต็ม และคะแนนของผู้เรียนจากการทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๕.๗๖ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๒.๖๔ คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 8๕.๗๖ ของคะแนนเต็ม แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพ (E1 / E2) ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน ประกอบการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ฯ เท่ากับ ๘๘.๗๐ / 8๕.๘๖ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
๓. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าที (T test = Dependent Samples)
พบว่า ค่า t = 5.424 df = 16 เมื่อตรวจสอบค่าวิกฤติในตาราง นัยสำคัญที่ .01 = 2.583 ซึ่งค่า t ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าในตาราง จึงแปลความหมายได้ว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น (คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนเท่ากับร้อยละ 6๗.๐๔ และหลังเรียนเท่ากับร้อยละ 8๕.๘๖ แสดงว่าผู้เรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 18.82)
๔. ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน ประกอบการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ฯ (E.I.)
พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน ประกอบการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ฯ เท่ากับ 0.5517 ซึ่งหมายถึงผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.17
๕. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน ประกอบการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ฯ
พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ดนตรีสากลพาเพลิน ประกอบการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ฯ โดยรวม มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.8071, S.D. = 0.2742) โดยผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านกระบวนการวัดผลและประเมินผล ( = 4.9647, S.D. = 0.0786), ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( = 4.89411, S.D. = 0.16933) และ ด้านเนื้อหา/สาระ ( = 4.74118, S.D. = 0.46494) ตามลำดับ