บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงทดลอง ตามแบบ One-Group Pretest Posttest Design มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 226 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 1 เรื่อง ดังนี้ ชุดที่ 1 เรื่อง กฎหมายอาญาและแพ่ง ชุดที่ 2 เรื่อง สิทธิมนุษยชน ชุดที่ 3 เรื่อง วัฒนธรรม ชุดที่ 4 เรื่อง สังคมไทย และชุดที่ 5 เรื่อง การเมืองการปกครอง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังของชุดการเรียนรู้แต่ละชุด และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความเที่ยงตรง (IOC) การหาค่าความยากง่าย (p) และหาค่าอำนาจจำแนก (r) การหาค่าความเชื่อมั่น KR-20) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ E1/E2 = 80/80 การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการคำนวณค่าที t-test แบบ Dependent Samples และ ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 83.37/81.18 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการศึกษาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6300 แสดงว่า ชุดการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.00
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยของชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีวิถีไทย โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (x̄= 4.41) กิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา มีความพึงพอใจมากที่สุด (x̄ = 4.76) และ งานที่ได้รับมอบหมายมีความเหมาะสม ท้าทายความสามารถของนักเรียน มีความพึงพอใจน้อยที่สุด (x̄= 4.16)