ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์
เรื่อง สมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางเพ็ญสุดา มังกร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษมัธยมศึกษา เขต 18
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง
สมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา และ 4) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา โดยกลุ่มประชากรในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 3 ห้องเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 72 คน ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้รับผิดชอบในการสอน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาได้แก่ 1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา ซึ่งประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามเจตคติ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าซี (Z-test) แบบ One group และการทดสอบค่าซี (Z-test) แบบไม่อิสระจากกัน (Dependent)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง
สมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์คือ 86.30/84.49 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา มีค่าเท่ากับ 0.7375 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7375 หรือคิดเป็นร้อยละ 73.75
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา พบว่าหลังได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา ที่สร้างขึ้นสูงกว่าก่อนการได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ระดับเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา อยู่ในระดับมาก ( = 4.29) และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน () เท่ากับ .45