บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเทศบาล ๓
(โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผู้รายงาน : นายนิโรธ วิชาธิคุณ
ปีที่รายงาน 2562
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1) ด้านสภาวะแวดล้อม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิตของโครงการ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียน รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ บุคลากรที่จัดโครงการ มีความรู้ในเรื่องการจัดกิจกรรม รองลงมา คือ ความสะดวกด้านการใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีเร้าความสนใจแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
3. ด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ และที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ รองลงมาคือ ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลการดำเนินโครงการเสนอผู้บริหาร
4. ด้านผลผลิต สรุปผลการประเมิน ดังนี้
4.1 ผลการประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยเรียงลำดับกิจกรรมจากมากไปหาน้อย
4.1.1 กิจกรรมอ่านบทเพลงสู่งานเขียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ การนำบทเพลงที่ชื่นชอบมาอ่านให้เพื่อนฟัง
4.1.2 กิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ นักเรียน มีนิสัยรักการอ่านดีขึ้น
4.1.3 กิจกรรมวางจากงานอ่านทุกคน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ใช้เวลาว่างในการอ่าน
4.1.4 กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนยืมหนังสือห้องสมุดไปอ่าน รองลงมา คือ ห้องสมุดจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างสม่ำเสมอ และ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ นักเรียนจัดนิทรรศการผลงานจากกิจกรรมการอ่าน
4.1.5 กิจกรรมพี่ช่วยน้องรักการอ่านด้วยหนังสือเล่มเล็ก พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ส่งเสริมการทำงานแบบร่วมมือ
4.2. การประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ให้ความสำคัญของการอ่าน
4.3. การประเมินพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ร่วมกิจกรรมเต็มเวลา
4.4. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ความพึงพอใจผลงานของตนเองที่เกิดจากกิจกรรมโครงการ
4.5. การแบบประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองนักเรียนต่อกิจกรรมการส่งเสริมนิสัยรักการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ปริมาณของกิจกรรมโครงการเหมาะสมไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
1. ข้อเสนอแนะ
1.1 ด้านบริบทของโครงการ
1.1.1 สถานศึกษาควรปรับเป้าหมายของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้
มีความสอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์และเป้าหมายของสถานศึกษา
1.1.2 ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องกับโครงการควรปรับเป้าหมายของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้มีความสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและความต้องการของนักเรียน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
1.2.1 สถานศึกษาควรมีการจัดอบรมโดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาเกี่ยวกับการที่ช่วยส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
1.2.2 สถานศึกษาควรมีการส่งเสริมและเชิญชวน ให้บุคลากรนอกสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดหาหนังสือหรือสื่อต่างๆ รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการอ่านให้แก่นักเรียน อย่างต่อเนื่อง
1.2.3 สถานศึกษาควรมีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการ ทั้งจากภายในและภายนอกอย่างเพียงพอและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
1.2.4 สถานศึกษาควรมีการจัดแหล่งเรียนรู้ หนังสือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่หลากหลายและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้
. 1.3 ด้านกระบวนการดำเนินการ
1.3.1 ครูผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องกับโครงการควรมีการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างชัดเจนและเหมาะสมโดยมีนักเรียนแกนนำหรือยุวบรรณารักษ์เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีในการอ่าน
1.3.2 สถานศึกษาควรมีการสำรวจความต้องการในการใช้หนังสือของนักเรียน ครูและบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อให้มีหนังสือทั้งที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและหนังสืออ่านนอกเวลาอย่างเหมาะสมเพียงพอ มีความหลากหลายและน่าสนใจ รวมถึงการส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง
1.3.3 ผู้รับชอบโครงการและผู้เกี่ยวข้องควรมีการนำผลการประเมินการดำเนินโครงการมาวางแผนการ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประเมินผลการดำเนินโครงการในด้านต่างๆ
1.4 ด้านผลการดำเนินการโครงการ
1.4.1 สถานศึกษาควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและดึงดูดความสนใจให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมากขึ้น
1.4.2 สถานศึกษาควรมีการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนให้ได้รับรางวัลยอดนักอ่านระดับสถานศึกษาตลอดจนพัฒนาให้นักเรียนได้รับรางวัลยอดนักอ่านในระดับสูงขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง