บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย : นางกรวรรณ นวลละออง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีที่วิจัย : 2560
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3)เพื่อประเมินความสามารถ ในการอ่านจับใจความ หลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1)แผนการจัด การเรียนรู้ จำนวน 9 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 18 ชั่วโมง 2) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 เรื่อง 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 82.65/81.61
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการประเมินความสามารถในการอ่านจับใจความ หลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับดี ร้อยละ 59.09 ระดับพอใช้ ร้อยละ 40.91 จากจำนวนทั้งหมด 33 คน โดยมีคาเฉลี่ยเท่ากับ 2.45 ซึ่งอยู่ในระดับดี
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน จับใจความ ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสงขลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50