ชื่อผลงาน : แบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้รายงาน : นางมาลัย ศิริวัฒนธานี
ตำแหน่ง : ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 4 (ชุมชนวัดธรรมจักร)
สำนักการศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ การคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการคิดเชิงเหตุผล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียน กับหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการคิดเชิงเหตุผล ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยทำการศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 4 (ชุมชนวัดธรรมจักร) สำนักการศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน โดยมีเครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ชุด มีแบบฝึก รวมทั้งสิ้น 32 แบบฝึก 2) แบบทดสอบทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 1– 9 ซึ่งเป็นแบบปรนัย ใช้วัดระหว่างเรียน จำนวน 8 ฉบับ และใช้วัดหลังเรียน จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบประเมินแบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 4) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สรปุผลการพัฒนา
1. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับนักเรียนแบบกลุ่มใหญ่จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ 80.04/76.22 และผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกนักเรียนกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ 81.41/76.98
2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการคิดเชิงเหตุผลระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า คะแนนทักษะทักษะการคิดเชิงเหตุผลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการคิดเชิงเหตุผล ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนทักษะการคิดเชิงเหตุผลหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.79 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.279