บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยในการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการในดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตในการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ผู้วิจัยใช้หลักการประเมินแบบ CIPP MODEL แบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านพัฒนา ปีการศึกษา 2561จำนวน 31,30 และ 20 คน ตามลำดับ รวม 81 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า จำนวน 6 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสม สอดคล้องของสภาพแวดล้อมในการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านกระบวนการดำเนินงาน และฉบับที่ 4 6 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ที่มีต่อคุณลักษณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านพัฒนา ตามลำดับ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า สภาพแวดล้อมของการดำเนินโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า ทุกด้าน ทุกข้อ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยในการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า ปัจจัยในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้ง 6 ด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริหารให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนและผดุงระบบ ครูที่ปรึกษามีความตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษามีความยุติธรรม การติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีงบประมาณในการดำเนินงานอย่างเพียง และการเบิกจ่ายเป็นไปตามขั้นตอนของโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ผู้บริหารให้ขวัญกำลังใจ เสริมแรงจูงใจ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ครูตลอดจนเผยแพร่ผลการพัฒนาเป็นลายลักษณ์อักษร และครูที่ปรึกษาพัฒนาตนเองทางด้านจิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้ออื่นๆมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า กระบวนการในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การช่วยเหลือนักเรียนและให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่นักเรียน และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่เหมาะสมของนักเรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้ออื่นๆ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ที่มีต่อคุณลักษณะของนักเรียนในการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีสุขภาพกายและจิตที่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด ส่วนด้านนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการทำงาน และด้านนักเรียนมีความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับตนเอง ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับในระดับมาก และทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้