บทคัดย่อ
ในการรายงานผลการจัดประสบการณ์ โดยใช้หนังสือชุดคำคล้องจอง พัฒนาทักษะ
การฟัง และการพูด เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือชุดคำคล้องจอง พัฒนาทักษะการฟัง และการพูด เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบุพราหมณ์ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟัง และการพูด เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาระดับปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้หนังสือชุดคำคล้องจอง ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 22 คน โรงเรียนบ้านบุพราหมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย หนังสือชุดคำคล้องจอง จำนวน 10 เรื่อง แผนการจัดประสบการณ์ 20 แผน และแบบประเมินทักษะด้านการฟัง และการพูด จำนวน 20 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ แบบประเมินทักษะการฟัง 10 ข้อ และ แบบประเมินทักษะการพูด 10 ข้อ หนังสือชุดคำคล้องจองมีค่า IOC เท่ากับ 1.0 แบบประเมินทักษะการฟัง และการพูด มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 1.00 มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.50 0.70 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 0.80 ค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.87 วิธีดำเนินการทดลองสอนโดยใช้หนังสือชุดคำคล้องจอง ทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ทดสอบหลังการจัดประสบการณ์ด้วยแบบประเมินทักษะด้านการฟัง การพูด นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
(t-test dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของหนังสือชุดคำคล้องจอง พัฒนาทักษะการฟัง
และการพูด เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบุพราหมณ์ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 พบว่า นักเรียน 22 คน ทำกิจกรรมระหว่างการจัดประสบการณ์ จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน นักเรียนทำคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 88.05 กล่าวคือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 88.05 ส่วนผลคะแนนทักษะด้านการฟัง การพูด เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาระดับปฐมวัย หลังจัดประสบการณ์ คะแนนเต็ม 20 คะแนน นักเรียนทำคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.95 ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2 ) เท่ากับ 89.77 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.05/89.77
2. ทักษะการฟัง และการพูด เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาระดับปฐมวัย ระหว่างการจัดประสบการณ์ โดยใช้หนังสือหนังสือชุดคำคล้องจอง โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ผลการเปรียบเทียบทักษะการฟัง และการพูด ของการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือชุดคำคล้องจอง พัฒนาทักษะ
การฟัง และการพูด เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 13.50 และคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.95 แสดงให้เห็นว่าทักษะการฟัง และการพูด
เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาระดับปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05