ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบ้านน้ำร้อน อำเภอคลองท่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ผู้ประเมิน นายณรงค์ศักดิ์ หมีนพราน
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำร้อน
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2561
บทสรุปของผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบ้านน้ำร้อน อำเภอคลองท่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพการดำเนินงานของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านน้ำร้อน อำเภอคลองท่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ปีการศึกษา 2561 ในด้านต่อไปนี้ คือ การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation)การประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) และการประเมินผลผลิต (Product evaluation) และ 2) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำร้อน อำเภอคลองท่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนบ้านน้ำร้อน จำนวน 14 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านน้ำร้อน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. สภาพการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านน้ำร้อน อำเภอคลองท่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
1.1 สภาพการดำเนินงาน 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 และสภาพการดำเนินการแต่ละด้าน มีระดับการดำเนินการอยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ค่าเฉลี่ย 4.26 ส่วนเลี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 ด้านปัจจัยนำเข้า ค่าเฉลี่ย 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 ด้านกระบวนการดำเนินงาน ค่าเฉลี่ย 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71 และด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ย 4.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73
1.2 ความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักเรียน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48
2. ผลสัมฤทธิ์ของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านน้ำร้อน อำเภอคลองท่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ปรากฏผล ดังนี้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการทดสอบระดับท้องถิ่น (Local Test) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ปีการศึกษา 2561 มีค่า เฉลี่ยโดยรวมเพิ่มขึ้นกว่าปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 3.55
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการทดสอบทางการ ศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ปีการ ศึกษา 2561 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.66 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.77 แต่สำหรับกลุ่มสาระการเรียน รู้วิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 มีคะแนนการทดสอบน้อยกว่าปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 9.28 และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 มีคะแนนการทดสอบลดลงกว่าปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 4.96
2.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการทดสอบทางการ ศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ปีการ ศึกษา 2561 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.84 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.64 แต่สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คะแนนการทดสอบลดลงกว่าปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 3.09
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการรายงานโครงการไปใช้
จากผลการรายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบ้านน้ำร้อน อำเภอคลองท่อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ เพื่อให้การประเมินโครงการของโรงเรียนบ้านน้ำร้อนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ผู้รายงานโครงการมีข้อเสนอแนะในการนำผลการรายงานไปใช้ ดังนี้
1. ครูควรสร้างความตระหนักถึงความสำคัญการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาที่ต้องการ ส่งเสริมให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้น
2. ครูและบุคลากรควรมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือ และมีการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
3. ควรส่งเสริมชุมชนได้เห็นประโยชน์และความสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ทั้งนี้เพื่อจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกระดับ ผู้นำชุมชน ผู้นำส่วนท้องถิ่นและองค์กรเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินงานโครงการให้ต่อเนื่องและจริงจัง
4. ควรมีการกำหนดวัน เวลา และระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมอย่างชัดเจน กำหนดรูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น และดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่อง
5. ควรกำหนดกิจกรรมในโครงการให้มีความครอบคลุมเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละช่วงวัย เน้นการดำเนินกิจกรรมที่ต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตอาสา ตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน
ข้อเสนอแนะเพื่อการรายงานครั้งต่อไป
1. ควรร่วมกันวิเคราะห์ผลการดำเนินโครงการในการหาข้อบกพร่องและแนวทางการแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการให้ประสบความสำเร็จต่อไป
2. ควรมีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในด้านความซื่อสัตย์สุจริตและความมุ่งมั่นในการทำงาน