บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวจินตนา ละศิลป์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ 85.14/83.66 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .29 ถึง .77 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .13 ถึง .67 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่า t แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.57 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.48
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.14/83.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าร้อยละ 64.24
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.57 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.48
โดยสรุป การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์และสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ การเรียนรู สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้มากขึ้น