ชื่อผลงาน : การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ปีการศึกษา 2560-2561
ผู้รายงาน : นายวันชัย ทันสมัย ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2560-2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ปีการศึกษา 2560-2561 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 2) เพื่อศึกษาผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ตามสภาพจริงของนักเรียน หลังการพัฒนา คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี ปีการศึกษา 2560-2561 3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน หลังการพัฒนา โดยใช้ กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี ปีการศึกษา 2560-2561 4) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา หลังการพัฒนา คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี ปีการศึกษา 2560-2561 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี ปีการศึกษา 2560-2561 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 มีนาคม 2562 ต่อเนื่องตลอด 2 ปีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 322 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 335 คน 2) กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 86 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 322 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 335 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 และ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน และ 5) กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2560 และ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ แบบบันทึกผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.93-0.98 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้น ปีการศึกษา 2560 ช่วงเดือนมีนาคม 2561 และครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2561 ช่วงเดือนมีนาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS Version 18 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน ที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ปีการศึกษา 2560-2561 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนก เป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.79 , S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 3.68 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.61 , S.D. = 0.51) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.57 , S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 4.56 , S.D. = 0.61) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มครูและกลุ่มเครือข่ายผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.54 , S.D. = 0.42,0.64) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง พบว่า ปีการศึกษา 2560 มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งสิ้น 243 คน คิดเป็นร้อยละ 12.02 ของนักเรียนทั้งหมด ปีการศึกษา 2561 มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งสิ้น 141 คน คิดเป็นร้อยละ 5.62 สรุปผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ หลังการพัฒนา ทั้งสองปีการศึกษา พบว่า โรงเรียนสามารถลดจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้จำนวน 384 คน คิดเป็นร้อยละ 17.64 และเป็นที่น่าสังเกตว่า ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสามารถลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับร้ายแรงมากเป็นศูนย์ สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน หลังการพัฒนา โดยใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทั้งสองกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 3.65 , S.D. = 0.62,0.68) อยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทั้งสองกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปกครองและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.56 , S.D. = 0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มครู ( = 4.53, S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกันสอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไปโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป หลังการพัฒนา ทั้ง 2 ปีการศึกษามีค่าเฉลี่ยร้อยละมากกว่า ร้อยละ 90 ทั้ง 8 ประการ โดยปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2560 ทั้ง 8 ประการ และเมื่อพิจารณาค่าพัฒนา พบว่า คุณลักษณะฯ อยู่อย่างพอเพียง มีค่าพัฒนาสูงสุด +3.08 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะฯ มุ่งมั่นในการทำงาน +2.70 ส่วนคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ มีค่าพัฒนาต่ำสุด +1.54 สอดคล้องตามสมมติฐาน
5. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มเครือข่ายชุมชนมีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.67 , S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 3.64, S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ต่ำสุด ( =3.54, S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด ( = 4.64 , S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มเครือข่ายชุมชน ( = 4.62 , S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.53 , S.D. = 0.58) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
 
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อสร้างความตระหนักให้กับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ SUANCHON MODEL ภายใต้การมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วน อีกทั้งใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนา
1.2 หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรม/คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์ผู้เรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืน หรือความคงทนถาวรของพฤติกรรม/คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามอัตลักษณ์ผู้เรียนที่โรงเรียนกำหนด
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นคนดีของนักเรียนตามอัตลักษณ์ผู้เรียนสู่ความยั่งยืน
2.2 ควรศึกษาผลกระทบเชิงบวกการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนที่ปรากฏต่อชุมชน หรือสังคมในเขตบริการของโรงเรียน
2.3 ควรมีการพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนในรูปแบบหรือลักษณะอื่นๆ อย่างหลากหลาย เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง