ชื่อ-สกุล ผู้วิจัย ปนัดดา วงค์จันตา.
ชื่อเรื่องวิจัย รายงานการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์
ปีที่วิจัยสำเร็จ 2562
สถานที่วิจัย โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาใช้วิธีการผสมผสานในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยมี วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา 2) พัฒนาการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาและหาประสิทธิผล 3) ศึกษาการนำไปปฏิบัติได้และความมีประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนนักเรียนโรงเรียนเศรษฐ เสถียรในพระราชูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 105 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 103 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 110 คน เป็นนักกีฬา จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพ ความต้องการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา 2) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม ศึกษาสภาพ และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา 3) แบบวัดเจตคติของนักเรียนต่อการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา 4) แบบสอบถามระดับความพึงพอใจ 5) แบบบันทึกรางวัลการแข่งขันกีฬานักเรียนพิการแห่งชาติ 6) แบบประเมินการนำไปปฏิบัติได้และความมีประโยชน์ของการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติขั้นพื้นฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนาการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์
1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา พบว่า
นักเรียนต้องการออกกําลังกายและเล่นกีฬา เพื่อให้สุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย เป็นนักกีฬาระดับชาติ นักเรียนต้องการออกกําลังกายหรือเล่นกีฬา ทุกวัน หลังเลิกเรียน นักเรียนต้องการให้โรงเรียนสนับสนุนกิจกรรมกีฬาว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิสและแบดมินตัน สาเหตุของการไม่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา คือ โรงเรียนไม่ได้กำหนดกิจกรรม ไม่มีสนามและอุปกรณ์การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพียงพอ
2) ผลพัฒนาการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา พบว่า การส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระบบสนับสนุน หมายถึง ปัจจัยที่ส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย 1.1) การบริหารจัดการ ได้แก่ การวางแผน การนำไปปฏิบัติ การควบคุม และด้านการประเมินผล 1.2) ปัจจัยด้านทรัพยากร ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม บุคลากรและอาสามัครช่วยสอน งบประมาณ 2) การเพิ่มเวลาส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา หลังเลิกเรียน วันหยุดและเข้าค่ายฝึกซ้อมระหว่างปิดภาคเรียน 3) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและชุมชน
2. ผลการศึกษาประสิทธิผลการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีเจตคติหลังการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาอยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.57,S.D.=.28) มีความพึงพอใจหลังการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, S.D.=.31) เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและชุมชน อยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.57,S.D.=.37) ระบบสนับสนุนของโรงเรียน ( =4.49,S.D.=.39) และการเพิ่มเวลาในการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา ( =4.43,S.D.=.38)
ระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนเฉลี่ยวิชาพลศึกษา และระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนหลังการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา สถิติจำนวนนักเรียนเจ็บป่วยที่รับบริการห้องพยาบาล โดยภาพรวมของโรงเรียนลดลง โรงเรียนเศรษฐแสถียร ในพระราชูปถัมภ์เป็นลำดับ 1 ของประเทศ ประเภทบกพร่องทางการได้ยิน ในการแข่งขันกีฬานักเรียนคนพิการแห่งชาติครั้งที่ 18 ปีการศึกษา 2559 และครั้งที่ 19 ปีการศึกษา 2560 หลังได้รับการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์
3) ผลการศึกษาการนำไปปฏิบัติได้และความมีประโยชน์ พบว่า ความสามารถในการนำไปปฏิบัติได้ (ค่าเฉลี่ย 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .21) และความมีประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย 4.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .18) ของการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด