รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25-0.65 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rateing Scales) 5 ระดับ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t - test ) Dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 85.94/84.57 ซึ่งสูงกว่าตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง
ความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.57, S.D= 0.61)